Sign In
New Customer?

สาส์นจากประธานโครงการ

1

ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ชุติมา ศิริกุลชยานนท์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

โรคอ้วนกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย องค์การอนามัยโลกได้บรรจุปัญหาโรคอ้วนเป็นวาระแห่งโลกที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาที่ตามมาของ โรคอ้วนคือ โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ฯลฯ ขณะเดียวกันเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ขาดสารอาหารจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เจ็บป่วยบ่อย ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคต

การดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวนับเป็นภารกิจที่สำคัญที่ทุกคนพึงให้ความสนใจและเอาใจใส่ แต่บางครั้งด้วยข้อจำกัดของเวลาและความรู้ ทำให้สาระสำคัญนี้ถูกละเลยโดยไม่ตั้งใจ ในปัจจุบันเด็กมักได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจโดยเฉพาะด้านอาหาร พบว่าภาวะโภชนาการทั้งขาดและเกินนับเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัยเรียน ในฐานะของกุมารแพทย์และนักวิชาการสาธารณสุข และด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ในการจะทำประโยชน์ให้กับสังคม ประโยชน์ของส่วนรวมย่อมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน ความทุ่มเททั้งสติปัญญาแรงกายแรงใจ ก่อเกิด “โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย” เพื่อสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้กับนักเรียน ซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป ให้เป็นเด็กไทยดูดี มีพลานามัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

แนวทางการแก้ไขปัญหาโภชนาการทั้งขาดและเกิน เพื่อทำให้เด็กทุกคนดูดี มีพลานามัย จึงต้องบูรณาการทั้งที่ตัวเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน อาศัยหลักชุมชนมีส่วนร่วม โดยทั้งครู ผู้ปกครอง นักเรียน ร่วมคิดร่วมทำ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ความสัมฤทธิ์ผลจึงจะเกิดความยั่งยืน และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ได้ริเริ่มโครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย ตั้งแต่ปี 2547 และได้นำโครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย เป็นกิจกรรมหนึ่งในการ เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา

ขอขอบคุณครู ผู้ปกครอง นักเรียนทุกคน ที่มีส่วนร่วมในโครงการ ทีมงานวิจัยที่สละแรงกาย แรงใจในการทำงาน วิทยากรรับเชิญในการอบรมของโครงการฯ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมฯ อธิการวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ สสส. ที่ให้ทุนสนับสนุนให้เกิดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง

1

โครงการเด็กไทยดูดี

1

หลักการและเหตุผล

เด็ก วัยเรียนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสมอง จึงต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต เด็กวัยนี้ควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยได้รับ อาหารครบทั้ง 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ (สารอาหารและความปลอดภัย) หากเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้การเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองไม่ได้เต็มศักยภาพ ในทางตรงข้ามการบริโภคอาหารที่มากเกินไปของเด็กจะนำไปสู่ภาวะโภชนาการเกิน และโรคอ้วน ข้อมูลจาก ปี 2549 ในโรงเรียนเอกชน 4 แห่ง พบว่า เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มีอัตราร้อยละ 1-2 อัตราโรคอ้วนโรงเรียนชายร้อยละ 24 โรงเรียนหญิงร้อยละ 7-10 ปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลักและอาหารจานด่วนที่มีไขมันสูง ผักผลไม้น้อย อาหารว่าง (ขนมหวานและขนมกรุบกรอบ) เครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม รวมทั้งขาดกิจกรรมการออกกำลังกาย ผู้บริหารทุกโรงเรียนมีนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาโภชนาการอย่างเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบบูรณาการในการให้เด็กไทยดูดี มีพลานามัย โดยให้เด็กมีวินัย มีการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รู้จักกิน ฉลาดซื้อ รู้คุณค่าของเงิน และรักการออกกำลังกาย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ด้านการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ที่นำมาซึ่งการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  • การบรรจุองค์ความรู้แบบบูรณาการในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้เด็กไทยดูดี มีพลานามัย เข้าในหลักสูตรของโรงเรียนทั่วประเทศ
  • เด็กไทยมีวินัยในการรับประทาน การใช้เวลา และการใช้เงินอย่างคุ้มค่า
  • ระยะยาวลดปัญหาโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการเกิน : โรคอ้วน, เบาหวาน, หัวใจ, ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
  • เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก : พัฒนาการ (IQ) สูงขึ้น

1

ภาคีเครือข่าย

บทความของเรา

1
เด็กไทยดูดี มีพลานามัย

เด็กไทยดูดี มีพลานามัย หมายถึง เด็กที่มีร่างกายแข็งแรง ฉลาด รูปร่างดี มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป บุคลิกภาพดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส ร่าเริง มีพัฒนาการที่ดีเป็นไปตามวัย มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของเด็กไทย คือ ประหยัด มีวินัย ใฝ่รู้ กล่าวคือมีการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รู้จักกิน ฉลาดซื้อ รู้คุณค่าของเงิน และรักการออกกำลังกาย คุณลักษณะของเด็กไทย ควรเป็นไปตามหลักพัฒนาการในแต่ละวัย ตามการเปลี่ยนแปลงตามสังคมโลกและทำให้สังคมโลกอยู่รอด จุดเด่นของสังคมไทยคือการมีไมตรีจิตซึ่งควรรักษาไว้ และแก้ไขจุดด้อยในด้านภาพลักษณ์ด้านลบ วัยประถม พัฒนาให้เด็ก รู้จัก ประหยัด มีวินัย ใฝ่รู้ การประหยัด เด็กประถมรู้จักเรื่องจำนวน การใช้เงิน ควรฝึกให้เด็ก รู้จักคุณค่าของเงิน ใช้จ่ายให้เหมาะสม คิดก่อนซื้อ และรู้จักเก็บออม ควรประมาณค่าขนมให้ลูกตามความจำเป็นไม่มากเกินไปเพราะเด็กจะไม่รู้จักคิด มีมากก็ใช้จ่ายมาก การมีวินัย ฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การมีตารางเวลาและความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา กินเป็นเวลาไม่จุบจิบ แบ่งเวลาในการเล่นออกกำลังกาย ดูทีวีหรือเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลา เข้านอนและตื่นเป็นเวลา รับผิดชอบทำการบ้าน ช่วยงานบ้านตามโอกาส ใฝ่รู้ สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวนอกหลักสูตร จากการได้ลงมือทำเอง ศึกษาจากธรรมชาติ ตามความถนัด เป็นรากฐานของการค้นพบตัวเองในอนาคต ถ้าพ่อแม่ทำงานนอกบ้าน เวลาในการดูแลลูกน้อยลง พ่อแม่ควรให้เวลากับลูก อย่างน้อยในแต่ละวันควรรับประทานอาหารด้วยกันสัก 1 มื้อโดยเฉพาะมื้อเย็น จะได้พูดคุยกันไถ่ถามความเป็นอยู่ทุกข์สุขหรือเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวันนี้ ซึ่งเราจะได้สังเกตดูลูกว่าอาจอยากได้คำแนะนำหรือคำชื่นชม การดูทีวีด้วยกันเพื่อช่วยให้ความคิดเห็นและสร้างให้เด็กมีวิจารณญาณ รู้ทันสื่อ และทำให้ทราบถึงคุณลักษณะของอาหารที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน เป็นต้น วัยรุ่น วัยที่เป็นตัวของตัวเอง วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ต้องการความอิสระ เพื่อนจะมีอิทธิพลสูง จะมีค่านิยมทางสังคม ทางเพศ วัยรุ่นควรได้รับการเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตที่ดีควรเป็นอย่างไร มีอุดมคติเพื่อตัวเองและบุคคลอื่น อาชีพสุจริต พึ่งตนเอง ไม่ฟุ่มเฟือย บริบทของครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม ชุมชนสังคม ความเข้าใจ ความอบอุ่นเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อวัยรุ่นอย่างมาก ดังนั้นการที่จะสร้างเสริมให้เด็กไทยดูดี มีพลานามัย จึงต้องบูรณาการหลายๆด้าน ทั้งที่ตัวเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และสิ่งแวดล้อม เอกสารอ้างอิง นพ.ยงยุทธ วงค์ภิรมย์ศานติ์. การบรรยายเรื่องคุณลักษณะของเด็กไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพ ในการอบรม ครูเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2547 ณ ห้องประชุม อาคาร 6 ชั้น 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านต่อ
1
ทำอย่างไร เมื่อลูกน้ำหนักน้อย

เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มักมีสาเหตุจาก การเลี้ยงดู เด็กรับประทานน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือรับประทานไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและ คุณค่า เนื่องจากความไม่รู้ หรือตามใจเด็ก ภาวะเจ็บป่วยของร่างกาย อาจมีโรคเรื้อรังหรือปัญหาของความพิการแต่กำเนิด ทำให้การเจริญเติบโตช้า เช่นโรคหัวใจ การพักผ่อน นอนหลับไม่เพียงพอ นอนดึก ในระยะแรก น้ำหนักจะต่ำกว่าเกณฑ์ ยังไม่มีผลต่อความสูง แต่ถ้าต่ำอยู่ระยะหนึ่งแล้วจะมีผลต่อความสูง เด็กจะไม่ค่อยสูงเท่าเด็กปรกติ ปัญหาเด็กตัวเล็กน้ำหนักน้อยมักเป็นที่กังวลของแม่ และพยายามหาวิธีต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกดีขึ้น เพราะนอกจากทางร่างกายจะเจริญเติบโตช้า ยังมีผลต่อการเรียนรู้ ความจำของสมอง การติดเชื้อง่าย เจ็บป่วยบ่อย เนื่องจากภูมิต้านทานไม่ดี วิธีที่ง่ายก็คือ คุณพ่อคุณแม่คงต้องพาน้องไปปรึกษาแพทย์ตรวจสุขภาพ เพื่อดูว่ามีปัญหาโรคทางกายหรือไม่ ถ้าดูแล้วผิดปกติไม่มาก เช่น เด็กดูสุขภาพดี ร่าเริงดี แต่มีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าปกติ คำถาม ที่ต้องตอบประการแรกคือ เด็กคนนี้เป็นเพียงเด็กปกติที่ผอมและตัวเล็ก เนื่องจากมีพันธุกรรมพ่อแม่ตัวเล็กหรือเด็กคนนี้มีความผิดปกติจริงๆ แพทย์จะช่วยบอกได้โดยใช้ส่วนสูงเฉลี่ยของพ่อแม่ แล้วเทียบกับตารางสำเร็จที่ทำไว้ว่า เด็กควรสูงเท่าไร ถ้าความสูงของเด็กเมื่อเทียบกับความสูงของพ่อแม่ไปด้วยกัน จะช่วยลดลดความวิตกกังวลของพ่อแม่ลงได้ แพทย์จะซักถามเรื่องการเลี้ยงดูอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน เด็กกินอาหารจุกจิกมากไหม เด็กที่จิบน้ำหวาน หรือกินขนมมาก ทำให้ไม่อยากอาหารเมื่อถึงมื้อจริงๆ อาจทำการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระเพื่อดูว่ามีพยาธิหรือไม่ ทดสอบวัณโรคหรือเอกซ์เรย์ปอดดูว่ามีวัณโรคหรือไม่ ถ้ามีโรคทางร่างกายก็ต้องรักษาควบคู่กันไปกับการรักษาภาวะขาดอาหาร ถามประวัติหรือจากการตรวจอุจจาระพบว่ามีพยาธิ ให้ยาถ่ายพยาธิในเบื้องต้นส่วนเด็กที่ไม่มีปัญหาของโรคที่จะมีผลกับสุขภาพ ก็ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูต่อไป คำแนะนำเรื่องอาหารในเด็กวัย 6-12 ปี ให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบด้วย ข้าว 2-3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว หรือไข่ 1 ฟอง ผัดผัก 1 ทัพพี ผลไม้ เช่น ส้ม 1 ผล (หรือ กล้วย 1 ผล หรือ มะละกอ 4-5 ชิ้นคำ หรือผลไม้อื่นๆ) นม 1 แก้ว ไข่ ถือ เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ในเด็กที่น้ำหนักน้อยรับประทานได้ทุกวันๆละ 1 ฟอง ปัญหาเด็กที่มีน้ำหนักน้อย แต่ละมื้อหากรับประทานได้น้อย อาจจะต้องแบ่งมื้อย่อย หากเด็กอยู่ในวัยซุกซนหรือห่วงเล่น อาจชวนมาให้มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารและให้ลองชิม ควรนั่งโต๊ะรับประทานพร้อมกับผู้ใหญ่ด้วยความสนุก และพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่าง พาเด็กไปออกกำลังกาย วิ่งเล่น เมื่อเด็กได้ใช้พลังงานก็จะทำให้หิว ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบ ลูกอมทอฟฟี่ หรือนม ก่อนมื้ออาหารเพราะเด็กจะอิ่มทำให้เด็กรับประทานอาหารได้น้อย การที่เด็กรับประทานน้อย จะได้สารอาหารไม่ครบ และอาจขาดวิตามิน เกลือแร่บางตัว ซึ่งส่งผลให้เด็กเบื่ออาหาร แพทย์จะเสริมยาบำรุงให้ในช่วงแรก เมื่อเด็กได้รับวิตามิน เกลือแร่ที่ขาด ก็จะมีอาการดีขึ้น อาการเบื่ออาหารก็จะลดลง ให้เด็กนอนแต่หัวค่ำ วัยเรียนเด็กควรได้นอนหลับพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง การนอนดึกจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ได้เต็มที่ เด็กจะเจริญเติบโตได้ดี ต้องการอาหารที่ดีและเพียงพอ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่นั่นเอง เท่านี้ก็จะแก้ปัญหาลูกได้แล้ว หากยังไม่ได้ผลควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง

อ่านต่อ
1
ขนมนั้นสำคัญไฉน

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าขนม มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเด็ก ซึ่งมักเป็นหนึ่งในหลายๆอย่างที่ผู้ใหญ่มักนำมาใช้ล่อหลอก หรือเป็นเครื่องต่อรองหรือให้รางวัลกับเด็ก ถ้ามองถึงความสำคัญของขนมแล้ว ขนมดูจะมีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับอาหารหลัก 3 มื้อ ขนมส่วนใหญ่มักทำจากแป้ง น้ำตาล ซึ่งให้เพียงพลังงาน รสหวาน มัน เค็ม อาจเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ แต่พบว่าเด็กกลับรับประทานมากและนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ เด็กที่ทานอาหารหลัก 3 มื้อได้มากและยังเพิ่มขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะขณะดูทีวี ก็จะนำมาซึ่งโรคอ้วน ส่วนในเด็กที่น้ำหนักน้อย ขนมขบเคี้ยวจะยิ่งทำให้การจะรับประทานอาหารมื้อหลักลดลง ทำให้การเจริญเติบโตล่าช้า การศึกษาของ สสส. พบว่าค่าขนมของเด็กไทยใช้จ่ายมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท/ปี=งบประมาณของ 6 กระทรวง ซึ่งเป็นการสูญเสียอย่างมาก 65 % ของค่าขนมเด็กใช้ไปในการซื้อขนมกรุบกรอบ การศึกษาในภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าขนมขบเคี้ยวที่เด็กรับประทานคิดเป็นพลังงานร้อยละ 20 ของพลังงานที่ควรได้รับประจำวัน ซึ่งสูงพอสมควร และไปแทนที่อาหารหลัก 5 หมู่ ที่มีประโยชน์มากกว่า ขนม/อาหารว่างเด็ก ที่มีขายในขณะนี้ ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ทอฟฟี่ เวเฟอร์ ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ปลาหมึกอบกรอบ ไอศกรีม เจลลี่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมไทย ในทางโภชนาการ “ขนม”ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หมายถึงขนมที่มีส่วนประกอบของสารอาหารครบ 5 หมู่ คือการมีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ เพิ่มจาก แป้ง น้ำตาล ไขมัน ที่มีอยู่ เนื่องจากในขนมกรุบกรอบส่วนใหญ่ จะมีแป้ง น้ำตาล ไขมัน ผงชูรส เกลือ ซึ่งให้เพียงพลังงานและอาจเป็นโทษกับร่างกาย ขนม/อาหารว่างที่มีคุณค่า และมองในภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนมไทย น่าจะมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่า ยกตัวอย่าง ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง มีวิตามินเอ ข้าวต้มมัด ถั่วแปบ รสไม่หวานจัด มีแป้ง โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร ถั่ว งา มีโปรตีน และแคลเซียม ผลไม้ ส้ม กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ ซึ่งมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในทุกเพศ ทุกวัย ขนมที่ควรหลีกเลี่ยง ขนมกรุบกรอบ ที่มีเกลือ ผงชูรส ขนมที่ใส่สีฉูดฉาด ลูกอม ขนมทุกชนิดที่ผสมกาแฟ เจลลี่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ไอติมแท่ง ขนมกรุบกรอบ ได้รับความนิยมสูง มักทำจากแป้ง มันฝรั่ง เกลือ ไขมัน และผงชูรส แต่งกลิ่น รส สี รสชาติส่วนใหญ่จะคล้ายกัน คือหวาน มัน เค็ม สำหรับแป้ง น้ำตาลไขมันจะให้พลังงาน รับประทานมากเกินไปจะทำให้อ้วน และเป็นสาเหตุของโรคฟันผุในเด็ก เกลือ มีผลต่อสุขภาพ ทำให้ไตทำงานหนัก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ผงชูรส มีผลเสียต่อสุขภาพ มีโซเดียมเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเกลือแกง อาจทำให้มีความดันโลหิตสูง อาการแพ้ผงชูรสได้เช่น ชาที่ปาก ลิ้น หน้า ร้อนวูบวาบ ผื่นแดงตามตัว แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก มีผลต่อระบบประสาท และสะสมนานๆ จะทำให้มีผลต่อประสาทตา ทำให้ตาบอดได้ การเกิดมะเร็ง ไตวาย ขนมที่ใส่สีฉูดฉาด ถ้าไม่ใช่สีผสมอาหาร จะเกิดเป็นโทษต่อร่างกาย เพราะจะมีโลหะหนัก เช่นตะกั่ว จะเป็นพิษต่อทั้งระบบประสาท ไต ฯลฯ ลูกอม น้ำตาล หวาน ทำให้ฟันผุ ขนมทุกชนิดที่ผสมกาแฟ มีคาเฟอีน ซึ่งกระตุ้น หัวใจ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ปริมาณกาแฟพบสูงในลูกอมรสกาแฟ รองลงไปคือลูกอมสอดไส้ชอกโกแลค คุกกี้รสกาแฟ เวเฟอร์ เค้ก ไอศกรีมรสกาแฟ ตามลำดับ เจลลี่ โดยเฉพาะที่ขนาดพอคำ บรรจุเป็นถ้วยเล็กๆ บีบเข้าปากได้เลย พบอุบัติเหตุ เด็กสำลัก ติดคอ และเสียชีวิต มีประกาศห้ามขายแล้ว น้ำอัดลม มีน้ำ น้ำตาล เจือสี แต่งกลิ่น รส และอัดแก๊ส มีฤทธิ์เป็นกรด กินแล้วจะมีลมในกระเพาะทำให้ท้องอืด กรดกัดกระเพาะ ทำให้ปวดท้อง เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในเด็กที่นำมาพบกุมารแพทย์ ไอติมแท่ง มักพบในเขตปริมณฑลกรุงเทพ และในต่างจังหวัด มักใส่สีสดใส และที่สำคัญกรรมวิธีการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากสีที่อันตรายต่อสุขภาพยังอาจปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ทำให้เกิดอาการท้อง เสียได้ เราควรบริโภค “ขนม” ที่มีคุณค่าในปริมาณมากน้อยขนาดไหน ขนมที่มีคุณค่าก็ให้พลังงาน จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรเป็นของว่าง เสริมระหว่างมื้อ 1-2 ครั้งต่อวัน จากอาหารหลัก 3 มื้อ ช่วงสาย และช่วงบ่าย ถ้าเป็น ผลไม้ ประมาณ 1ส่วนเสริฟ: กล้วยน้ำว้า 1ผลหรือ ส้ม1ผลหรือ มะละกอ5-6ชิ้นคำ ขนมไทยๆ: ขนมกล้วย ขนมฟักทอง1-2ชิ้น ข้าวต้มมัด1กลีบ ผู้ปกครองจะแนะนำบุตรหลานของตนอย่างไร เพื่อเด็กจะเลือกขนมที่มีประโยชน์ ปัจจุบันสื่อโฆษณาต่างๆ ด้านขนมเด็ก กำลังโหมกระหน่ำและมุ่งเป้าสู่เด็กทุกวัย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครอบครัว ผู้ปกครอง จึงควรให้ความสนใจ พินิจพิเคราะห์ ในการเลือกขนม หรือให้คำแนะนำในการเลือกขนมกับบุตรหลาน หลักที่ควรคำนึง คือ 3 ป. ปลอดภัย ประโยชน์ ประหยัด ปลอดภัย กินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย ดูลักษณะทั่วไป สะอาด ไม่มีสีฉูดฉาด บรรจุในภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด การดู ฉลากอาหาร เลขทะเบียน อย. วันผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และพลังงานที่ได้รับอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีสารปนเปื้อน จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่นเชื้อจุลินทรีย์ จะทำให้เกิดอาเจียน ท้องเสีย โลหะหนัก ผลต่อระบบประสาท ไต ประโยชน์ เด็กมักรับประทานขนม เพราะความอยาก อร่อย ควรสอนให้เด็กได้รู้จักเปรียบเทียบคุณค่าของขนมที่รับประทาน เช่นขนมไทย ผลไม้ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์มากกว่าในด้านการให้วิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และท้องไม่ผูก เมื่อเทียบกับขนมกรุบกรอบ ซึ่งจะได้รับพิษภัยจากเกลือ ผงชูรส และฟันผุ ประหยัด สอนให้เด็กรู้จักคิดก่อนซื้อ ว่าสิ่งที่ได้นั้นคุ้มค่ากับเงินที่จะจ่ายหรือไม่ เปรียบเทียบราคาในผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน สรุป เลือกผลไม้ แทนขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน เลือกอาหารไม่ใส่สี หรือ ใช้สีธรรมชาติ ดูบรรจุภัณฑ์และฉลากอาหารก่อนซื้อ ขนมที่บรรจุในภาชนะหรือซองที่ปิดสนิท ควรดูฉลากอาหาร มีเลขทะเบียน อย. วันผลิต วันหมดอายุ พลังงานที่ได้รับ พิจารณาราคา ลดการกินขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน ถ้ากินควรแปรงฟันหลังรับประทาน ฝึกวินัยให้เด็กรับประทานเป็นเวลา ไม่จุบจิบ พร่ำเพรื่อ ขนมที่มีประโยชน์ ได้แก่ ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง ถั่วแปบ กล้วยบวดชี ฟักทองแกงบวด

อ่านต่อ
1
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

สุขภาพดีเราต้องดูแลตนเอง นอกจากอาหาร อากาศบริสุทธิ์ และจิตใจสบายไม่เครียดแล้ว การออกกำลังให้สุขภาพดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่มักจะมีข้อแก้ตัวบ่อยๆว่า ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ความจริงแล้วไม่ต้องใช้เวลามากมายเพียงแค่วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็พอ จะเกิดผลดีต่อหัวใจและปอด และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายหรือเครื่องมือราคาแพงอะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว วิธีดีที่สุดคือการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านไม่สะดวกหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุ อาจใช้วิธีถีบจักรยานอยู่กับที่หรือเดินบนสายพานในขณะที่ฟังข่าวหรือดูละคร โทรทัศน์ ต้องถือว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน มารู้จักการออกกำลังกายที่ดี Aerobic exercise คือ การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง นานพอคือประมาณ 30 นาที และ หนักพอ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ฯลฯ ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่(เช่น ขา หรือแขน) ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนและดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมอยู่มาใช้เป็นพลังงาน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้หัวใจ ปอด และระบบหมุนเวียนโลหิตแข็งแรง ซึ่งก็คือวิธีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายจนเป็นนิสัยที่จริงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก คือ ต้องมีพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นตัวอย่างตัวนำพาเด็กไปออกกำลังกาย ไม่ว่าเด็กหญิงหรือชายถ้าไม่เคยออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้มีปัญหาทางจิตวิทยา จะไปออกกำลังกายนอกบ้านสักทีก็เขิน กลัวคนเห็นกลัวคนจ้อง กลัวคนนินทาว่าวิ่งไม่เป็น ไม่สวย ต่างๆ นานา ทำให้เป็นอุปสรรคใหญ่ในการออกกำลังกาย วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราออกกำลังได้คือ หาวิธีออกกำลังกายที่เราชอบ เข้ากับนิสัยของเรา หรือการเล่นกับเด็ก ก็เป็นเรื่องที่ดี บางครั้งถ้าเราเบื่อการวิ่งระยะทาง เราก็อาจจะลองไปเดินตามโรงเรียน ที่มีเด็กๆ เล่นกีฬาแล้วเข้าไปเล่น ทำตัวเป็นเด็กๆ เช่นเล่นบาสเก็ตบอล ฟุตบอล การเล่นแบบนี้ ทำให้เพลิดเพลินและเล่นได้นาน ผลดีของการออกกำลังกาย การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหัวใจ หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตลดลง ลดโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ป้องกันโรคอ้วน ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดไขมัน ในเลือด ทำให้โคเลสเตอโรล, ไตรกลีเซอไรด์, LDLลดลง เพิ่มไขมันดี ในเลือด คือ HDL ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทำให้ร่างกายสดชื่น ลดความเครียด จากการที่สมองผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่งชื่อ เอนดอร์ฟิน ออกมาในขณะออกกำลังกาย ฮอร์โมนนี้มีลักษณะคล้ายมอร์ฟีน จึงทำให้รู้สึกเป็นสุข ช่วยให้นอนหลับสบายและหลับสนิท ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยให้ท้องไม่ผูก เพราะลำไส้มีการขยับตัวดีขึ้น หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ไม่เคร่งเครียด สนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรทำโดยสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 20 - 30 นาที การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงยืดเหยียดและอบอุ่นร่างกาย 5 - 10 นาที ช่วงแอโรบิค 20 - 30 นาที ช่วงผ่อนคลาย 5 - 10 นาที ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย หัวใจ, หลอดเลือด, และระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มีการปรับตัวทั้งด้านอุณหภูมิ และการทำงาน ป้องกันอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจจะขาดเลือดทันทีถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มแรก ป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม ล้มลงโดยไม่รู้สึกตัวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มต้น ลดโอกาสบาดเจ็บของข้อต่อ เอ็นและกล้ามเนื้อเนื่องจากมีการปรับตัวในการใช้งานอย่างต่อเนื่องจากเบาไปหนัก ข้อดีของการผ่อนคลายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ทำให้หัวใจ, หลอดเลือด, กล้ามเนื้อ และระบบประสาทอัตโนมัติ กลับคืนสู่สภาพปกติ ลดโอกาสเกิดอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ลดโอกาสเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ จากภาวะเลือด ไปเลี้ยงสมองไม่พอ ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว ช่วยกำจัดกรดแลคติคได้ดี ทำให้ไม่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย สรุป ข้อควรปฏิบัติในการ ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันครั้งละ 30 นาที ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหม ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนคลายก่อนเลิกออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย ออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนาน การแต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย ออกกำลังกายในสถานที่ปลอดภัย ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย ควรงด การออกกำลังกายชั่วคราวในภาวะต่อไปนี้ ไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หลังจากฟื้นไข้ใหม่ๆ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มมากมาใหม่ๆ ในเวลาที่อากาศร้อนจัดและอบอ้าวมาก เอกสารอ้างอิง Standfield PS. Nutrition and Diet Therapy. 2nd edition London : Jones and Bartlett Publishers, Inc., 1992. www.anamai.moph.go.th/hpc12/artic/artic_03.h (accessed July 15,2004) www.mdcu.net/interest01.html (accessed July 15,2004) edtech.pn.psu.ac.th/physical/content/ari/physical.htm (accessed July 15,2004)

อ่านต่อ
1
สร้างวินัยอย่างไรจึงจะสำเร็จ

สุขภาพดีเราต้องดูแลตนเอง นอกจากอาหาร อากาศบริสุทธิ์ และจิตใจสบายไม่เครียดแล้ว การออกกำลังให้สุขภาพดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่มักจะมีข้อแก้ตัวบ่อยๆว่า ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ความจริงแล้วไม่ต้องใช้เวลามากมายเพียงแค่วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็พอ จะเกิดผลดีต่อหัวใจและปอด และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายหรือเครื่องมือราคาแพงอะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว วิธีดีที่สุดคือการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านไม่สะดวกหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุ อาจใช้วิธีถีบจักรยานอยู่กับที่หรือเดินบนสายพานในขณะที่ฟังข่าวหรือดูละคร โทรทัศน์ ต้องถือว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน มารู้จักการออกกำลังกายที่ดี Aerobic exercise คือ การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง นานพอคือประมาณ 30 นาที และ หนักพอ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ฯลฯ ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่(เช่น ขา หรือแขน) ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนและดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมอยู่มาใช้เป็นพลังงาน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้หัวใจ ปอด และระบบหมุนเวียนโลหิตแข็งแรง ซึ่งก็คือวิธีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายจนเป็นนิสัยที่จริงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก คือ ต้องมีพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นตัวอย่างตัวนำพาเด็กไปออกกำลังกาย ไม่ว่าเด็กหญิงหรือชายถ้าไม่เคยออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้มีปัญหาทางจิตวิทยา จะไปออกกำลังกายนอกบ้านสักทีก็เขิน กลัวคนเห็นกลัวคนจ้อง กลัวคนนินทาว่าวิ่งไม่เป็น ไม่สวย ต่างๆ นานา ทำให้เป็นอุปสรรคใหญ่ในการออกกำลังกาย วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราออกกำลังได้คือ หาวิธีออกกำลังกายที่เราชอบ เข้ากับนิสัยของเรา หรือการเล่นกับเด็ก ก็เป็นเรื่องที่ดี บางครั้งถ้าเราเบื่อการวิ่งระยะทาง เราก็อาจจะลองไปเดินตามโรงเรียน ที่มีเด็กๆ เล่นกีฬาแล้วเข้าไปเล่น ทำตัวเป็นเด็กๆ เช่นเล่นบาสเก็ตบอล ฟุตบอล การเล่นแบบนี้ ทำให้เพลิดเพลินและเล่นได้นาน ผลดีของการออกกำลังกาย การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหัวใจ หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตลดลง ลดโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ป้องกันโรคอ้วน ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดไขมัน ในเลือด ทำให้โคเลสเตอโรล, ไตรกลีเซอไรด์, LDLลดลง เพิ่มไขมันดี ในเลือด คือ HDL ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทำให้ร่างกายสดชื่ การสร้างวินัย ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่กำลังสร้างลักษณะนิสัยและต่อเนื่องถึงเด็กวัยเรียนซึ่งจะมี กระบวนการเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น เด็กจะเลือกทำกิจกรรมอย่างที่สนใจและลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความจำและการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล การฝึกวินัยทำให้เด็กเกิดนิสัยในการควบคุมตนเอง อันจะช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้ โดยไม่ล่วงเกินสิทธิหรือประพฤติผิดมารยาทของสังคม การฝึกวินัยให้เด็กจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเด็ก และควรให้เด็กเข้าใจถึงเหตุผลของกฎระเบียบนั้น ๆ ควรหลีกเลี่ยงการข่มขู่ แต่ควรสนับสนุนให้กำลังใจยกย่องชมเชยเมื่อมีโอกาส สถาบันที่มีบทบาทในการการปลูกฝังการมีวินัยแก่คนในชาติ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมืองและการปกครอง สื่อมวลชน และองค์กรอิสระ ถึงแม้ว่าการพัฒนาการมีวินัยต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายสถาบันดังกล่าวไป แล้วนั้น การปลูกฝังการมีวินัยในตนเองให้แก่เด็กวัยเรียนนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของ สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาที่ต้องพยามปลูกฝังความมีระเบียบวินัยให้เหมาะสมกับวัย โดยเริ่มแรกจากสถาบันครอบครัว เพราะบิดามารดามีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็กและคอย อบรมสั่งสอนให้เด็กมีพฤติกรรมความประพฤติที่ดีได้ และนอกจากนี้แล้ว ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการเสริมสร้างวินัยให้เด็กเมื่ออยู่ในชั้น เรียน พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ควรร่วมมือกันและประสานแนวคิดระหว่างบ้านและโรงเรียน เวลา และวิธีการทางบวกเพื่อสร้างวินัย ท่านพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่างถึง วิธีสร้างวินัยในตนเอง ดังนี้ “ การจะให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ยั่งยืนเคยชิน ย่อมมาจากจิตใจที่มีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำพฤติกรรมนั้น เมื่อเกิดปัญญาเรียนรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำนั้น จะเป็นวิธีสร้างวินัยความรับผิดชอบในตนเอง เป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระเบียบเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์ “ มุ่งหวังให้เด็กได้แนวทางในการประพฤติปฏิบัติ โดยการปฏิบัตินั้นซึมซับเข้าไปในตัวเด็กควบคุมตัวเองในการกระทำสิ่งต่างๆ ได้ตามความคาดหวังและมีความสุข โดยเฉพาะ เป็นคนตรงต่อเวลา มีวินัยในการกิน กินเป็นเวลา 3 มื้อ ไม่จุบจิบ การเรียน ใฝ่รู้ จัดตารางสอน ทำการบ้าน อ่านทบทวนบทเรียน เข้าเรียนสม่ำเสมอ การเล่น เล่นและออกกำลังกายเป็นเวลา การทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย การเข้านอน ตื่นเป็นเวลา การใช้เงิน รู้จักประหยัด อดออม รู้คุณค่าของเงิน แนวทางปฏิบัติ จัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน ในระดับครอบครัวและในสถาบันการศึกษา เพื่อให้นักเรียนทราบความคาดหวัง ส่งเสริมทางเลือกและโอกาสผ่านกิจกรรมต่างๆ หาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน ครู/ผู้ปกครองเป็นแบบอย่าง มีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ ไม่ควรนำเด็กมาเปรียบเทียบกัน ปรับเปลี่ยนเทคนิคให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ให้เด็กรู้แผนงานในแต่ละวัน สิ่งแวดล้อมที่ดี ความรัก ความเข้าใจ การติดตามอย่างต่อเนื่อง สอนให้มีทักษะชีวิต เหมาะสม ไม่เหมาะสม ผลดีของการมีวินัย ทำให้เกิดความมั่นใจ สามารถควบคุมตนเอง ควบคุมอารมณ์ และการกระทำ นำไปสู่ ความมั่นใจในตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ทำให้เข้าใจตนเอง มองภาพตนเองดีขึ้นเมื่อประสบผลสำเร็จและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทำงานได้ประสบผลสำเร็จ ทำให้เป็นคนที่ทำอะไรอย่างมีจุดมุ่งหมาย ทำให้สามารถควบคุมตนเองและการกระทำให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ทำให้เห็นคุณค่าของเวลา เงิน สิ่งที่อยู่รอบข้างและรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับของสังคม การปลูกฝังวินัยในเด็กช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก ตามวัย หากที่ผ่านมายังไม่มีการฝึก ยังไม่ช้าไปที่จะเริ่ม ต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของเด็กก่อน การจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กทราบเหตุผล (ย่อมดีกว่าการออกคำสั่ง การบังคับ หรือการลงโทษ) เมื่อเด็กเกิดความพึงพอใจ มีความสุขในการกระทำพฤติกรรมนั้น เมื่อเกิดปัญญาเรียนรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำนั้น จะเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แบบยั่งยืน เอกสารอ้างอิง : พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) วิธีสร้างวินัยในตนเองน ลดความเครียด จากการที่สมองผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่งชื่อ เอนดอร์ฟิน ออกมาในขณะออกกำลังกาย ฮอร์โมนนี้มีลักษณะคล้ายมอร์ฟีน จึงทำให้รู้สึกเป็นสุข ช่วยให้นอนหลับสบายและหลับสนิท ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยให้ท้องไม่ผูก เพราะลำไส้มีการขยับตัวดีขึ้น หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ไม่เคร่งเครียด สนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรทำโดยสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 20 - 30 นาที การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงยืดเหยียดและอบอุ่นร่างกาย 5 – 10 นาที ช่วงแอโรบิค 20 – 30 นาที ช่วงผ่อนคลาย 5 – 10 นาที ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย หัวใจ, หลอดเลือด, และระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มีการปรับตัวทั้งด้านอุณหภูมิ และการทำงาน ป้องกันอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจจะขาดเลือดทันทีถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มแรก ป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม ล้มลงโดยไม่รู้สึกตัวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มต้น ลดโอกาสบาดเจ็บของข้อต่อ เอ็นและกล้ามเนื้อเนื่องจากมีการปรับตัวในการใช้งานอย่างต่อเนื่องจากเบาไปหนัก ข้อดีของการผ่อนคลายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ทำให้หัวใจ, หลอดเลือด, กล้ามเนื้อ และระบบประสาทอัตโนมัติ กลับคืนสู่สภาพปกติ ลดโอกาสเกิดอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ลดโอกาสเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ จากภาวะเลือด ไปเลี้ยงสมองไม่พอ ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว ช่วยกำจัดกรดแลคติคได้ดี ทำให้ไม่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย สรุป ข้อควรปฏิบัติในการ ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันครั้งละ 30 นาที ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหม ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนคลายก่อนเลิกออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย ออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนาน การแต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย ออกกำลังกายในสถานที่ปลอดภัย ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย ควรงด การออกกำลังกายชั่วคราวในภาวะต่อไปนี้ ไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หลังจากฟื้นไข้ใหม่ๆ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มมากมาใหม่ๆ ในเวลาที่อากาศร้อนจัดและอบอ้าวมาก เอกสารอ้างอิง Standfield PS. Nutrition and Diet Therapy. 2nd edition London : Jones and Bartlett Publishers, Inc., 1992. www.anamai.moph.go.th/hpc12/artic/artic_03.h (accessed July 15,2004) www.mdcu.net/interest01.html (accessed July 15,2004) edtech.pn.psu.ac.th/physical/content/ari/physical.htm (accessed July 15,2004)

อ่านต่อ
1
รู้ได้อย่างไรว่าดูดี

อย่างไรจึงเรียกว่าดูดี? คำว่า “ดูดี” นั้น มีการใช้ในหลายโอกาส ซึ่งจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อบอกว่า ดูดี ที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะหมายถึงขนาดร่างกายและแบบแผนการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนโดย เฉพาะในระดับประถมศึกษา และในผู้ใหญ่ทั่วๆ ไป ดังนั้น ขนาดร่างกาย และแบบแผนการเจริญเติบโตในเด็กที่เรียกว่า ดูดี นั้น ก็น่าจะหมายถึงเด็กที่มีแบบแผนการเจริญเติบโตที่เหมาะสมตามวัย ไม่มีปัญหาทุพโภชนาการทั้งด้านการขาดและเกิน เป็นขนาดร่างกายที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถปฏิบัติกิจกรรมและการเรียน รู้ได้ดีที่สุด ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่ขนาดร่างกายที่เรียกว่า ดูดี นั้น น่าจะหมายถึงขนาดของร่างกายที่ไม่อ้วนและผอมจนเกินไป และเป็นขนาดของร่างกายที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้น้อยที่สุด วิธีการประเมินเพื่อบอกว่า “ดูดี” นั้นทำได้อย่างไร? โดยทั่วไปการประเมินภาวะการเจริญเติบโตในเด็กซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ภาวะ โภชนาการขอ1งเด็กนั้น วิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือวัดและเทคนิคการวัดที่ถูกต้อง เครื่องชั่งนำหนักที่เที่ยงตรงสูง เช่น เครื่องชั่งชนิดที่ใช้ระบบคานงัด (Beam balance scale) หรือแบบ digital เป็นตัวเลขที่ใช้ตามโรงพยาบาลและมีสเกลบอกค่าละเอียดเป็น 0.1 กิโลกรัม จะเหมาะสมกว่าเครื่องชั่งชนิดสปริง (Bath room scale) การชั่งน้ำหนักควรทำในขณะที่ผู้ถูกวัดสวมเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น ควรทำก่อนเวลาอาหาร ถ้าเป็นการวัดเพื่อติดตามการเจริญเติบโตหลายๆ ครั้ง ควรทำการชั่งในเวลาเดียวกัน อ่านค่าน้ำหนักเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง สำหรับเครื่องมือวัดความสูง ควรเป็นเทปโลหะมาตรฐานที่มีสเกลละเอียดเป็น 0.1 เซนติเมตร ทาบติดกับแผ่นกระดานที่สามารถนำไปติดตั้งในลักษณะตั้งฉากกับพื้นเรียบและไม้ ฉากสำหรับวัดเพื่อบอกความสูง อ่านค่าความสูงเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งการวิเคราะห์เพื่อการแปลผลภาวะการเจริญเติบโตในเด็ก โดยทั่วไปจะนิยมใช้ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ซึ่งจะมีข้อจำกัดบางประการ ตังอย่างเช่น กรณีของเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุต่ำกว่าเกณฑ์ จะไม่สามารถบ่งบอกได้ว่า การมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์นั้นเกิดจากเด็กซูบผอมจากการขาดสารอาหารในระยะ เวลาสั้นๆ หรือเป็นเด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าจากการขาดสารอาหารมานานจนทำให้มีรูปร่าง เตี้ยและมีน้ำหนักตัวน้อย นอกจากนี้ กรณีของเด็กที่มีรูปร่างค่อนข้างสูงเมื่อเทียบตามเกณฑ์อายุ และมีน้ำหนักตัวมากสัมพันธ์กับส่วนสูง จะถูกประเมินว่าเป็นเด็กอ้วนได้ ดังนั้น น้ำหนักตามเกณฑ์อายุจึงเหมาะสำหรับการประเมินภาวะการขาดสารอาหาร โดยรวมในเด็ก และไม่เหมาะสำหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินโดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป และน้ำหนักตามเกณฑ์อายุจะมีประโยชน์มากสำหรับการติดตามเฝ้าระวังแบบแผนการ เจริญเติบโตของเด็ก เพื่อการควบคุมกำกับและส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญที่เหมาะสม การเจริญของ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเด็กมีการขาดสารอาหารในระยะยาวหรือแบบเรื้อรัง ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตของส่วนสูงช้า จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการเพียงลำพังโดยเฉพาะการ ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินโครงการในช่วงสั้นๆ ควรใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้อื่น เช่น น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือซูบผอม แสดงว่า มีการขาดสารอาหารในระยะสั้นหรือแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงยังเป็นตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมสำหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินในเด็ก อายุ 2 ปี ขึ้นไป ดังนั้น ในการพิจารณาการเจริญเติบโตหรือภาวะโภชนาการของเด็กที่ดีที่สุดคือ การพิจารณาจากตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เกณฑ์การพิจารณาเพื่อบอกว่า “ดูดี” คืออะไร? การพิจารณาการเจริญเติบโตของเด็กว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น ปัจจุบันใช้เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนักและส่วนสูง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 (ตามรูปกราฟ) เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าเด็กมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากเกินเกณฑ์ที่ ชัดเจน จะใช้ช่วงการเจริญเติบโตที่น้อยกว่าหรือมากกว่าค่ามัธยฐาน (Median) + 2 S.D. (Median + 2 S.D.) ยกเว้น น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง จะตัดสินว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงมากกว่า 2 S.D. อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการค้นหาปัญหาเด็กที่เริ่มมีการเจริญเติบโตไม่เหมาะสม กรมอนามัยได้เพิ่มค่าอ้างอิงที่ Median +1.5 S.D. ช่วงการเจริญเติบโตระหว่าง +1.5 – 2 S.D. ถือว่าเป็นช่วงที่ต้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปสูการ เกิดปัญหาที่ชัดเจนทั้งด้านการขาดและเกิน อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพิจารณาว่าการเจริญเติบโตของน้ำหนักและส่วนสูงในเด็กช่วงใดที่จะถือได้ ว่า เป็นช่วงการเจริญเติบโตที่ควรส่งเสริมให้เกิดมากที่สุด หรือ “ดูดี” ก็คือ ช่วงการเจริญเติบโตของน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ที่ Median + 1.5 S.D. การประเมินเพื่อบอกว่า “ดูดี” ในผู้ใหญ่เป็นอย่างไร? การประเมินขนาดร่างกายผู้ใหญ่เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ภาวะสุขภาพที่นิยมใน ปัจจุบัน ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) ซึ่งได้จากการนำค่าน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร ยกกำลังสอง ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (ส่วนสูงเป็นเมตร)2 การแจกแจงระดับค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย <18.5 กก./ม.2 หมายถึง ผอม 18.5-24.9 กก./ม.2 หมายถึง ปกติ 25.0-29.9 กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ1 30.0-39.9 กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ2 > 40.0กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ3 การศึกษาในปัจจุบันหลายการศึกษา แสดงว่า คนเอเซียที่มีดัชนีมวลกายเท่ากับคนยุโรปจะมีเปอร์เซนต์ของไขมันในร่างกายที่ มากกว่า และเริ่มมีปัญหาสุขภาพในระดับของค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า จึงมีการเสนอการแจกแจงระดับค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเซีย ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย <18.5 กก./ม.2 หมายถึง ผอม 18.5-22.9 กก./ม.2 หมายถึง ปกติ 23.0-24.9 กก./ม.2 หมายถึง ค่อนข้างท้วม(เริ่มเสี่ยง) 25.0-29.9 กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ1 > 30.0กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ2 การแจกแจงระดับค่าดัชนีมวลกายดังกล่าว การใช้ค่าดัชนีมวลกาย <18.5 กก/ม2 จากการสังเกตจะเป็นผู้ที่มีรูปร่างค่อนข้างผอม ดังนั้น ถ้าจะพิจารณาว่า ค่าดัชนีมวลกายที่ทำให้ “ดูดี” ไม่ผอมเกินไปหรืออ้วนเกินไปและเป็นช่วงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุดในที่นี้จึงขอเสนอ ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 19.0 – 22.9 กก./ม.2ซึ่งสอดคล้องกับค่าน้ำหนักตามส่วนสูงขององค์การอนามัยโลกที่เสนอไว้ใน Jellffe D.B., 1966. (WHO Monograph Series No. 53, 1966) นอกจากนี้ การวัดเส้นรอบวงเอวซึ่งแสดงถึงการสะสมไขมันบริเวณช่องท้อง พบว่า เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่ดี ดังนั้น จึงควรนำเส้นรอบวงเอวมาพิจารณาร่วมกับค่าดัชนีมวลกาย กล่าวคือ ในผู้ใหญ่ ขนาดของร่างกายที่ “ดูดี” คือ ควรมีดัชนีมวลกายระหว่าง 19 – 22.9 กก./ม.2 และมีเส้นรอบวงเอวไม่เกิน 90 ซม. (36 นิ้ว) สำหรับเพศชาย และ ไม่เกิน 80 ซม. (32 นิ้ว) สำหรับเพศหญิง แหล่งข้อมูล : World Health Organization 2000:20.

อ่านต่อ

สื่อเพิ่มเติม