พ่อแม่มีหน้าที่จัดหาอาหารที่เหมาะสมให้กับลูก เพื่อการได้รับประทานอาหารที่ เพียงพอทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนเป็นต้นแบบที่ดีในการมีพฤติกรรมการบริโภค ที่เหมาะสม และสอนให้ลูกรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังได้กล่าวแล้วว่า วัยเรียนเป็นวัยของหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาบุคลิกภาพ พ่อแม่จึงควรปลูกฝังการมี วินัยและบริโภคนิสัยที่ดีให้กับเด็ก ดังต่อไปน ครอบครัวควรกำหนดให้มีมื้ออาหารของครอบครัวอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 1 มื้อต่อวัน ซึ่งมีผลดีต่อครอบครัวที่จะได้มีโอกาสรับประทานอาหารด้วยกัน ได้สนทนาพูดคุยรู้ทุกข์สุขที่เกิดขึ้นกับลูกในแต่ละวันระหว่างรับประทานอาหาร อีกทั้งพ่อแม่จะมีโอกาสช่วยพัฒนาเจตนคติที่ดีต่ออาหาร และมั่นใจได้ว่าลูกได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพียงพอทดแทนกับอาหารที่ลูกได้รับจากนอกบ้านซึ่งอาจไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันก็จะได้รู้ว่าอาหารชนิดใดที่ลูกชอบและอาหารชนิดใดที่ลูกไม่ชอบ นอกจากนี้การได้เห็นพฤติกรรมการบริโภคที่ดีระหว่างรับประทานอาหารด้วยกัน จะทำ ให้เด็กซึมซับพฤติกรรมที่ดีเหล่านั้นจากพ่อแม่อย่างต่อเนื่องและมีบริโภคนิสัยที่ดีตั้งแต่วัยเด็กสืบเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ การกำหนดเวลามื้ออาหารที่แน่นอนอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กมีวินัยในการบริโภคเป็นเวลา 3 มื้อ ไม่จุบจิบ ถ้าไม่มีการกำ หนดเวลามื้ออาหารที่แน่นอน เด็กมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารว่างมากกว่าและมักจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง การวางแผนเมนูและรายการอาหารล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ให้ได้ชนิดอาหารที่หลากหลาย จะช่วยให้เด็กได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า เว้นช่วงว่างระหว่างอาหารว่างกับอาหารมื้อหลักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง อาหารว่างเพียง 1-2 มื้อต่อวันก็เพียงพอสำ หรับเด็ก สร้างบรรยากาศที่ดีในขณะรับประทานอาหารด้วยกัน ควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือว่ากล่าวในมื้ออาหาร พ่อแม่ไม่ควรเข้มงวดหรือใช้วิธีบังคับเด็กมากเกินไป การที่พ่อแม่ที่บังคับควบคุมการบริโภคของเด็กมากเกินไป จะส่งผลในทางลบกับการบริโภคของเด็ก เกิดความเครียด เด็กจะแอบรับประทานทุกอย่างที่ห้ามและนำ ไปสู่โรคอ้วน พ่อแม่ควรมีการชี้แนะประโยชน์และโทษ ของการบริโภคอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพกับเด็กให้เข้าใจ การจะเสริมสร้างวินัย สุขนิสัยและพฤติกรรมการบริโภคที่ดีของเด็กวัยเรียน ควรค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเด็กได้ปฏิบัติเองและเห็นผลดีที่เกิดขึ้น เด็กจะเรียนรู้และปฏิบัติได้ต่อเนื่องจนเป็นนิสัยนับเป็นการสร้างวินัย ควรฝึกวินัยการบริโภคอย่างเหมาะสมเช่นเดียวกับเด็กวัยก่อนเรียน ให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน ให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เป็นประจำ ทุกวัน เสริมนมรสจืด วันละ 2 แก้ว ฝึกให้บริโภคผักผลไม้จนเป็นนิสัย ให้อาหารว่างที่มีคุณภาพ สรุป เด็กวัยเรียน เป็นเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการ สม่ำ เสมออย่างต่อเนื่อง เป็นวัยของหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาบุคลิกภาพจึงควร ปลูกฝังและพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคมแก่เด็ก การมีวินัย บริโภคนิสัย อาหารว่างมีส่วน สำคัญช่วยเติมเต็มให้เด็กได้รับพลังงานเพียงพอ จึงควรเป็นอาหารที่เหมาะกับสุขภาพ พ่อแม่และครูควรเป็นต้นแบบที่ดีในการมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ปัญหาใหญ่ใน ปัจจุบันคือเด็กวัยเรียนไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ แต่ชอบรับประทานอาหารที่พลังงาน และไขมันสูง จนนำ ไปสู่ปัญหาโรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง ปัจจัยเหตุของปัญหามักเกี่ยว เนื่องกับปัจจัยต่างๆ คือ สิ่งแวดล้อมในครอบครัว ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สังคมเพื่อ การจัดบริการอาหารในโรงเรียน และขาดการออกกำลังกาย การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนและ ไขมันในเลือดสูง ตลอดจนการบริโภคผัก ผลไม้ จึงควรแก้ที่ปัจจัยเหตุตามบริบทของชุมชน เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.
สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมในแต่ละครอบครัว ส่งผลต่อวิถีการดำ เนินชีวิต พฤติกรรม การบริโภค การออกกำลังกาย ตลอดจนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ในการทำ ให้เกิดโรคอ้วนในเด็ก เป็นได้ทั้งปัจจัยเหตุ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่นำ ไปสู่ โรคอ้วน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมจะสามารถแก้ไขและป้องกัน โรคอ้วนได้ อายุ การเกิดโรคอ้วนแปรตามอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสเกิดมากขึ้น การเกิดโรคอ้วนในวัยทารกจะส่งผลให้อ้วนในวัยก่อนเรียน วัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ตามลำดับการเกิดโรคอ้วนในวัยเด็กจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนสูงขึ้นแปรตามอายุที่เด็กเริ่มอ้วน อ้วนในเด็กวัยเรียนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่มากกว่าอ้วนในเด็กวัยก่อนเรียน หรือเด็กวัยรุ่นที่อ้วน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่มากกว่าอ้วนในเด็กวัยเรียนตามลำดับ เพศ การศึกษาในหลายประเทศรายงานการเกิดโรคอ้วนในเพศชายและหญิงแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากเชื้อชาติ วัฒนธรรม สีผิว ภาวะทางเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมการเลือกชนิดอาหาร ความสนใจด้านอาหาร ความพึงพอใจในรูปร่างและปัจจัยทางกายวิภาคและสรีรวิทยาในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาในเด็กวัยเรียนในโครงการเด็กไทยดูดีฯ ในกรุงเทพมหานคร และรายงานจากการศึกษาอื่นๆ พบว่าเด็กผู้ชายอ้วนมากกว่าเด็กผู้หญิงทำ นองเดียวกับประเทศจีน ไต้หวัน ศรีลังกา และประเทศเยอรมัน วิถีการดำเนินชีวิต (life style) การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันล้วนส่งผลต่อภาวะสุขภาพ นับตั้งแต่พฤติกรรมการบริโภค การนอนหลับพักผ่อน การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดฯลฯ การเกิดโรคอ้วน กินมาก : อาหารพลังงานสูง ผัก ผลไม้น้อย ออกกำลังกายน้อย พฤติกรรมการบริโภค กินมากเกินไป เด็กวัยเรียนได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง ไขมันสูง น้ำตาลสูงมากเกินไป จากอาหารจานด่วน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตกเป็นผลเนื่องมาจาก สะดวก หาซื้อง่าย สามารถโทรศัพท์สั่งบริการส่งถึงบ้าน ราคาไม่แพงมาก การโฆษณาทางทีวี รสชาติอร่อย และขนาดเสริฟ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ได้รับพลังงานที่มากเกินต้องการทั้งอาหารและเครื่องดื่มเกิดพลังงานสะสมและโรคอ้วน กินจุบจิบ ครอบครัวตามใจเด็กและไม่ได้ฝึกวินัยให้กับลูก หรืออาจจากพยาธิสภาพทางจิตใจ เช่น เครียด ภาวะซึมเศร้า กินมื้อดึก เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงการกินแล้วเข้านอน เป็นการสะสมพลังงาน จะทำให้อ้วน และมีผลทางลบต่อสุขภาพเนื่องจากอาจเกิดภาวะกรดไหลย้อน การงดอาหารเช้า ทั้งที่อาหารเช้านับเป็นมื้ออาหารหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับดำเนินกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะเด็กวัยเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพการงดอาหารเช้าส่งผลต่อการเรียนและสุขภาพของเด็ก วัยเรียน ทำให้การจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ลดลงและขาดสมาธิในการเรียน และส่งผลต่อน้ำหนักตัว การงดอาหารเช้ายังทำให้ อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายลดลงและทำให้มีโอกาสอ้วนได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้รู้สึกหิวมากและรับประทานอาหารในมื้อถัดไปมากขึ้น และมักเป็นอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วนและอ้วนลงพุง อาหารกับการเกิดโรคอ้วน อาหารไขมัน แป้ง น้ำ ตาล สูง ล้วนให้พลังงานสูง ได้แก่ อาหารจานด่วนอาหารทอด ไส้กรอก ขนมกรุบกรอบ เบเกอรี น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป พลังงานถูกเก็บสะสมในร่างกายได้ไม่จำกัด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน นอกจากนี้เบเกอรี คุกกี้ ขนมอบกรอบ ซึ่งมักมีเนยเทียมเป็นส่วนประกอบ จะมีไขมันทรานส์ที่อันตรายต่อสุขภาพ โดยมันจะเพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-C) และลดไขมันตัวดี(HDL-C) ในร่างกาย จึงไม่ควรมีจำ หน่ายในโรงเรียน ขนมกรุบกรอบ มีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาลไขมัน และเกลือ ตลอดจนผงชูรส แต่มีสารอาหารที่จำ เป็นต่อร่างกายน้อย การบริโภคขนมกรุบกรอบบ่อยๆ ทำ ให้เด็กได้รับพลังงานสูง ทั้งหวาน มันและเค็ม ทำ ให้เด็กไทยติดรสหวาน มันและเค็ม ผลที่ตามมานอกจากอ้วนฟันผุ ไขมันในเลือดสูง การได้รับเกลือในปริมาณสูง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเกิดการสะสมเกลือ ทำ ให้ไตทำ งานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง การบริโภคผักผลไม้น้อย ผักผลไม้เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ตลอดจนสารต้านอนุมูลอิสระ และมีใยอาหารช่วยดูดซับไขมันในลำ ไส้และช่วยในการขับถ่าย แต่พบว่าเด็กไม่ชอบและบริโภคน้อย ทำ ให้ท้องผูกและโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ใหญ่และเด็กในการบริโภคน้ำ ตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน และสถาบันวิชาการกุมารเวชศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศห้ามขายเครื่องดื่มรสหวานในโรงเรียนเนื่องจากทำ ให้เด็กอ้วนและการดื่มนมลดลง มีผลทำ ให้ร่างกายได้รับแคลเซียมลดลงและฟันผุ ข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก ในการบริโภคนำ้ตาล เด็ก ไม่เกิน 4 ช้อนชา/วัน ผู้ใหญ่ ไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน พฤติกรรมการออกกำลังกายกับการเกิดโรคอ้วน ปัจจุบันทั้งผู้ใหญ่และเด็กให้ความสำคัญของการออกกำลังกายลดน้อยลง ต้องการความสะดวกสบาย อีกทั้งมีเครื่องผ่อนแรงต่างๆ ทำ ให้ยิ่งลดการใช้พลังงานลงตามลำดับเป็นผลนำ ไปสู่โรคอ้วน การมีกิจกรรมทางกาย เกิดการเคลื่อนไหว จะมีการเผาผลาญพลังงานที่สะสมออกไป ในคนปกติมักมีความคล่องตัว แต่คนที่มีน้ำ หนักเกินหรือโรคอ้วน มักจะอุ้ยอ้าย และไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำ ให้สะสมพลังงานและอ้วนมากขึ้น เด็กที่มีกิจกรรมทางกายน้อยจะมีโอกาสเกิดโรคอ้วนเป็น 2.4 เท่าของเด็กที่มีกิจกรรมทางกายมาก จากการศึกษาพบว่าเด็กก่อนวัยเรียน ถ้าแม่มีกิจกรรมทางกาย เด็กก็จะมีกิจกรรมทางกาย มีการวิ่งเล่นคิดเป็น 2 เท่าของเด็กที่แม่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย และถ้าพ่อและแม่มีกิจกรรมทางกายเด็กก็จะมีกิจกรรมทางกายเพิ่มเป็น 5.8 เท่า ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากพ่อและแม่เป็นแบบอย่าง(role models) ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัว เป็นการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดี และแรงสนับสนุนทางสังคมหรืออิทธิพลจากครอบครัว จำนวนชั่วโมงของการดูทีวีมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วน นอกจากไม่ใช้พลังงานแล้ว ยังเกิดการสะสมพลังงานจากการที่เด็กมักรับประทานขนมขณะดูทีวีและเล่นเกมเด็กอ้วนมักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการดูทีวีเล่นเกม และเล่นโทรศัพท์มือถือ ข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลกในการออกกำลังกาย เด็ก ควรออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง ดูทีวีและเล่นเกมวันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ ควรออกกำลังกาย 150 นาที/สัปดาห์ (30 นาที/วัน, 5 วัน/สัปดาห์) เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.
อาหารที่ให้พลังงานมี 3 กลุ่ม คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน แป้งและน้ำตาลเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำ ให้เกิดโรคอ้วน โดยน้ำตาลเป็นพลังงานที่ สำคัญที่สุด และสามารถเปลี่ยนไปเป็นไขมันได้ แต่เมื่อเปลี่ยนไปแล้วเปลี่ยนกลับมายาก คนที่เป็นเบาหวานจะรับรู้ความหวานน้อยกว่าคนทั่วไป การได้รับพลังงานมากกว่าใช้พลังงานเป็นสาเหตุที่ทำ ให้อ้วน การติดหวานก็ทำ ให้อ้วนได้เช่นกันซึ่งเครื่องดื่มรสหวานมี ประโยชน์ในคนที่ต้องการพลังงานทดแทนอย่างรวดเร็ว เช่น คนที่เล่นกีฬาอย่างหนัก ประโยชน์ของน้ำตาล ช่วยในด้านรสชาติ การถนอมอาหาร เป็นส่วนประกอบทางการแพทย์ เป็นแหล่งพลังงานสำ รองเก็บสะสมไว้ที่ตับ ช่วยในการกล่อมประสาท ลดความกังวลความเครียดต่างๆ ได้ ข้อเสียของน้ำตาล การสะสมในรูปไขมัน เพิ่มแนวโน้มที่จะติดในรสอาหาร มีแนวโน้มเจ็บป่วยง่าย มีความต้องการและอยากกินอยู่เสมอ มีความหดหู่ซึมเศร้าในช่วงบ่าย การกินน้ำตาลจะทำ ให้สมองขาดวิตามินบีทำ ให้เด็กหงุดหงิดดุสมาธิสั้น เด็กอ้วนสามารถขาดสารอาหารเนื่องจากอาหารมีแต่พลังงานแต่ไม่มีสารอาหาร น้ำตาลมีหลายชนิด การสะสมในรูปไขมัน เพิ่มแนวโน้มที่จะติดในรสอาหาร มีแนวโน้มเจ็บป่วยง่าย มีความต้องการและอยากกินอยู่เสมอ มีความหดหู่ซึมเศร้าในช่วงบ่าย การกินน้ำตาลจะทำ ให้สมองขาดวิตามินบีทำ ให้เด็กหงุดหงิดดุสมาธิสั้น เด็กอ้วนสามารถขาดสารอาหารเนื่องจากอาหารมีแต่พลังงานแต่ไม่มีสารอาหาร ปริมาณน้ำตาลในร่างกายที่ควรได้รับในมื้ออาหาร ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา/วัน น้ำตาลที่เหลือนอกจากนี้จะเปลี่ยนเป็นไขมัน ตารางที่ 5.1 เครื่องดื่มรสหวานและปริมาณน้ำตาล เมนูเครื่องดื่ม ปริมาณน้ำตาล (ช้อนชา)* น้ำอัดลม 1 ขวดเล็ก 7.5 นมรสหวาน 2 นมรสช็อกโกแลต 3 นมเปรี้ยว 3.6 นมถั่วเหลือง 5 น้ำอัดลม ประเภทน้ำ ใส 11.5 น้ำอัดลมประเภทน้ำสี 10.25 น้ำอัดลมปะเภทน้ำดำ 8.5 * น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี น้ำตาล 1 ช้อนชา = 4 กรัมให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี อาหารว่างที่ดีควรมีโปรตีนสูง มีเส้นใยอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุ มีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และปริมาณเกลือต่ำ เด็กควรได้รับไม่เกินวันละ 2 มื้อ ควรเป็นผลไม้ หรือขนมไทยๆ ที่ไม่หวานจัด เช่น ถั่วแปบ ขนมกล้วย ฟักทองนึ่ง ผลไม้สามารถแบ่งชนิดของผลไม้ได้เป็น 4 ประเภท ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงมาก ได้แก่ ทับทิม มะม่วง กล้วย เชอร์รี่ องุ่น ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ได้แก่ ส้ม สับปะรด กีวี ลูกแพร์ ผลไม้ที่มีน้ำตาลปานกลาง ได้แก่ สตรอเบอร์รี่ มะละกอ แตงโม แคนตาลูป ฝรั่ง แอปเปิล ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยมาก ได้แก่ มะนาว แบล็กเบอร์รี่ และราสเบอร์รี
เกลือทั่วๆ ไป หมายถึง เกล็ดผลึกสีขาวใช้สาหรับปรุงแต่งรสชาติอาหารหรือใช้ในการ ถนอมอาหารมีรสเค็ม มีชื่อเรียกทางเคมีว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride) สูตรเคมีคือ NaCl โดยมีโซเดียม 40% และคลอไรด์ 60% โซเดียมเป็นเกลือแร่ที่มีความจำ เป็นต่อร่างกาย และร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเอง ได้ ช่วยการทำ งานของระบบประสาท ช่วยการหดและคลายของกล้ามเนื้อ รักษาความสมดุล ของของเหลวและเกลือแร่ ควบคุมการทำ งานของหัวใจ ช่วยให้แร่ธาตุบางชนิดสามารถ ละลายในเลือดได้ ปริมาณเกลือเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอสำ หรับการทำ งานของระบบร่างกาย การบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียมสูง) เป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้ ความดันโลหิตสูง เนื่องจากเกลือทำ ให้เกิดการคั่งของน้ำ ในหลอดเลือดและ อวัยวะต่างๆ เกิดการบวม ร่างกายเก็บรักษาน้ำ มากขึ้นทำ ให้ปริมาณน้ำ ในหลอดเลือดเพิ่ม ขึ้นส่งผลให้ไตซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการขับน้ำและเกลือออกจากร่างกายต้องทำ งานหนักขึ้น ทำ ให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงในหลอดเลือด และไตวาย โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงทำ ให้หัวใจทำ งานหนักขึ้น เกิดภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบต่อเส้นเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดสมองอาจตีบหรือแตกเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคกระดูกพรุน การบริโภคเค็มยังส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกเพราะ ทำ ให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม มะเร็งกระเพาะอาหาร การบริโภคเกลือมากๆ จะไปทำลายผนังกระเพาะอาหาร จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในหนึ่งปีจะมีผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน ใช้เงินในการรักษาถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นการสูญเสีย งบประมาณของประเทศจำ นวนมหาศาล ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับใน 1 วัน ปริมาณโซเดียมที่บริโภคไม่ควรเกิน 2 กรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือแกงประมาณ 1 ช้อนชา นอกจากนี้อาหารบางอย่างมีเกลือโซเดียมผสมอยู่โดยที่อาหารชนิดนั้นไม่ได้มี รสชาติเค็ม แต่ทำ ให้ผู้บริโภคได้รับโซเดียมร่วมด้วย ได้แก่ อาหารจำ พวกไส้กรอก โบโลน่า แฮม จะมีการเติมสารโซเดียมไนไตรท์ทำ ให้มีเนื้อแดงนุ่ม อาหารที่เติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) เพื่อทำ ให้อาหารมีอายุนานขึ้น อาหารจำ พวกขนมเค้ก เบเกอรี มีการ ใส่ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) แหล่งที่มาของโซเดียม อาหารธรรมชาติ มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบแทบทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์นม ไข่ จะมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าพวก ผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง (ที่ยังไม่แปรรูป) เครื่องปรุงอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมอยู่สูง เช่น เกลือ น้ำ ปลา ซีอิ๊วขาวผงชูรส กะปิ ผงปรุงรส น้ำ มันหอย เครื่องพริกแกง น้ำ ปลาร้า ผงฟู ประเภทของอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำ เร็จรูปไข่เค็ม แคบหมู ขนมถุงกรุบกรอบ อาหารหมักดอง อาหารแช่อิ่ม อาหารตากแห้ง เครื่องดื่มขนมปัง แหล่งอาหารที่มีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก โบโลน่า อาหารสำ เร็จรูปเบเกอรี่ ขนมปังก้อน จะมีการใช้โซเดียมในระหว่างกระบวนการทำ ตารางที่ 4.1 ปริมาณโซเดียมอยู่ในเครื่องปรุงรส เครื่องปรุงรส (1 ช้อนโต๊ะ) ปริมาณโซเดียม (กรัม/ช้อนโต๊ะ) น้ำ ปลา 1.5 กะปิ 1.5 ผง/ซอสปรุงรส 1.5 ซีอิ้วขาว 1.2 เต้าเจี้ยว 0.6 ซอยหอยนางรม 0.4 ตารางที่ 4.2 ปริมาณโซเดียมอยู่ในอาหารสำ เร็จรูป อาหารสำ เร็จรูป ปริมาณโซเดียม (กรัม) บะหมี่กึ่งสำ เร็จรูป (1 ซอง/ 55 กรัม) 1.5-2 โจ๊กสำ เร็จรูป 1.5-2 ซุปก้อน (1 ก้อน/11 กรัม) 2.6 ผักดอง 1 กระป๋อง 1.9 ปลากระป๋อง 1 กระป๋อง 0.8 ปลาร้า 1 ขีด 6.0 ปลาเค็ม 1 ขีด 5.3 กุ้งแห้ง 1 ขีด 3.2 ไข่เค็ม 1 ฟอง 0.5 ตารางที่ 4.3 ปริมาณโซเดียมแฝงที่อยู่ในอาหารแปรรูป อาหารที่มีโซเดียมแฝง ปริมาณโซเดียม (กรัม) โบโลน่า ¼ ห่อเล็ก (75 กรัม) 2 แฮม ¼ ห่อเล็ก (100 กรัม) 1.2 กุนเชียง 1 แท่ง (30 กรัม) 0.7 หมูยอ 1 แท่ง (100 กรัม) 0.7 แหนม 1 ไม้ (15 กรัม) 0.5 ลูกชิ้นหมู 1 ไม้ (30 กรัม) 0.6 ตารางที่ 4.4 ปริมาณโซเดียมที่อยู่ในขนมคบเคี้ยว ขนมขบเคี้ยว (100 กรัม) ปริมาณโซเดียม (กรัม) ปลาเส้น 2.1 สาหร่ายปรุงรส 1.5 มันฝรั่งแผ่น/ข้าวเกรียบอบกรอบ 0.7 แครกเกอร์ 0.5 เฟรนฟรายด์ 0.3 ตารางที่ 4.5 ปริมาณโซเดียมที่อยู่ในอาหารชนิดต่างๆ อาหาร ปริมาณโซเดียม (กรัม/จาน) สุกี้น้ำ 1.6 กระเพาะปลาน้ำแดง 1.5 ขนมจีนน้ำยา 1.5 แกงส้มผักรวม 1.1 ส้มตำ 1 ข้าวหมกไก 1 ผัดผักกาดดองใส่ไข 1 วิธีการลดปริมาณโซเดียมจากอาหาร เน้นการกินอาหารสดมากกว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ทำอาหารกินเองให้บ่อยที่สุด เพราะสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมไม่ให้มากเกิน ลดหรือเลิกใช้ ผงชูรส เครื่องปรุงรส น้ำซอสปรุงรสทั้งหลาย ใช้หัวหอมหรือหอมแดงแทนผงชูรสจะทำ ให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นหอม การใช้ สมุนไพร เครื่องเทศ เช่น พริก, พริกไทย, ตะไคร้, มะนาว, ขิงข่า, มะขามเปียก และน้ำส้มสายชู ในการปรุงประกอบอาหารจะช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้นโดยช่วย ลดการเติมเกลือลงในอาหาร ชิมอาหารก่อนปรุงหากจะใส่เครื่องปรุงควรใส่ทีละน้อยหรือไม่ควรมีเครื่อง ปรุงน้ำ ปลา น้ำตาล ในห้องอาหาร ใช้เครื่องจิ้มต่างๆ ในปริมาณน้อย เช่น น้ำจิ้มไก่ ซีอิ๊วหวาน น้ำจิ้มแจ่ว น้ำ พริกต่างๆ เพราะมักจะเค็ม หลีกเลี่ยงหรือกินแต่น้อยสำ หรับอาหารที่มีรสเค็มมาก เช่น ของหมักดอง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม อาหารกระป๋อง บะหมี่ซอง โจ๊กซอง ซุปซอง หากจำ เป็นต้องซื้อและกินอาหารสำ เร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหาร ด้านบนสุดของ ฉลากจะบอกหน่วยบริโภค ส่วนที่ 2 รายละเอียดของปริมาณไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และโซเดียม และเลือกซื้อที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ ลดการทานอาหารที่ใช้ผงฟูเป็นส่วนประกอบ พวกขนมปัง เบเกอรีต่างๆ เอกสารอ้างอิง : 1. เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ลดเค็ม ลดโรค [ https://www.lowsaltthai.com] 2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568. กทม: สำ นักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559.
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร ขึ้นกับ อายุ ในช่วงประถมต้นอายุ 6 - 8 ปี ต้องการสารอาหารปริมาณน้อยกว่า ช่วงประถมปลายอายุ 9 - 12 ปี ซึ่งกำลังเข้าสู่วัยรุ่น ระยะนี้เจริญเติบโตเร็ว ต้องการอาหาร มากกว่าเด็กเล็ก เพศ นักเรียนชายต้องการปริมาณสารอาหารมากกว่าหญิง กิจกรรม ผู้ที่ใช้กำลังงานมากจะต้องการสารอาหารมากกว่า เช่น นักกีฬา สภาวะของร่างกาย ส่งผลต่อความต้องการพลังงานและสารอาหารที่ แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น ขณะเจ็บป่วยร่างกายต้องการอาหารเพิ่มมากกว่าปกติเพื่อ ซ่อมแซมและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ หรือในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตโดยเฉพาะช่วงเข้าสู่ วัยรุ่นก็มีความต้องการสารอาหารในปริมาณสูงมากกว่าภาวะปกติ พลังงาน ปริมาณพลังงานสำ หรับเด็กวัยเรียนแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอายุ 6 – 8 ปี และ 9 – 12 ปี จากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำ หรับคนไทย คือ ตารางที่ 3.1 ความต้องการพลังงานในเด็กวัยเรียน เด็ก อายุ 6-8 ปี อายุ 9-12 ปี เพศชาย 1,400 กิโลแคลอรี่ 1,700 กิโลแคลอรี เพศหญิง 1,400 กิโลแคลอรี่่ 1,600 กิโลแคลอรี่ โดยมีการกระจายตัวของพลังงานจากสารอาหารโปรตีนร้อยละ10-12 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 และไขมันร้อยละ 25-35 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน ตารางที่ 3.2 อาหารสำ หรับเด็กวัยเรียน ควรได้รับใน 1 มื้อ ชนิดอาหาร อายุ 6-8 ปี อายุ 9-12 ปี ข้าว (ข้าวกล้อง) (ทัพพี) 2 2-3 เนื้อสัตว์สุก (ช้อนกินข้าว) 2 2-3 ผัก (ช้อนกินข้าว) 3-4 3-4 ผลไม้ (ส่วน)* 1 1 ไขมัน (ช้อนชา) 1-1.5 1.5-2 * หมายถึง ผลไม้แบบผล 1 ส่วน เท่ากับ ส้มผลกลาง 2 ผล หรือ กล้วยน้ำว้า 1 ผลและ ผลไม้แบบชิ้นคำ 1 ส่วน เท่ากับ 6 – 8 ชิ้นคำ เช่น สับปะรด 6 – 8 ชิ้นคำ การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ต้องคำ นึงถึงภาวะที่ร่างกายเด็กยังต้องเจริญเติบโต ต่อไป เด็กที่อ้วนไม่มากอาจจะไม่ต้องลดน้ำ หนัก แต่รักษาน้ำ หนักไม่ให้เพิ่มขึ้น เมื่อเด็ก สูงขึ้น น้ำ หนักตามความสูงก็จะปกติได้ แต่ในรายที่อ้วนมากคงต้องควบคุมให้น้ำ หนักไม่ขึ้น และลดลงได้บ้างตามความเหมาะสม ทั้งนี้จะประสบความสำ เร็จได้ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องขึ้นกับ ความตั้งใจของเด็กเอง การได้รับคำแนะนำ ในการดูแลด้านอาหารอย่างถูกต้อง มีความรู้ ในการเลือกชนิดของอาหาร ความอดทนในการหักห้ามใจจากอาหารที่ชอบ ร่วมกับการ ออกกำลังกาย ความร่วมมือจากครอบครัว ผู้ปกครอง ครูโรงเรียน ตัวเด็กเอง ตลอดจน สังคมจึงจะประสบผลสำเร็จ การประเมินภาวะสุขภาพเด็กอ้วน การประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก โดยการชั่งน้ำ หนักเทียบกับความสูงจะบอก ระดับของความอ้วนของเด็ก การวัดความดันโลหิตเพื่อประเมินผลแทรกซ้อนที่อาจพบปัญหาความดัน โลหิตสูง การเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังลักษณะเป็นปื้นดำ หนาและขรุขระคล้ายขี้ไคล ที่รอบคอ ด้านข้างและหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ จะเป็นสัญญาณเตือนภัย ที่บ่งบอกว่า ถ้ายังอ้วนต่อไปเด็กอาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ลักษณะขาโก่งผิดปกติ เนื่องจากรับน้ำ หนักตัวที่มาก ในเด็กที่อ้วนมากๆ และมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หายใจลำ บาก หรือมีภาวะ ทางเดินหายใจอุดกลั้นขณะหลับ ต้องส่งพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษา การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก การให้ความรู้หรือโภชนศึกษา การสร้างความตระหนักรู้โดยให้ความรู้ ความเข้าใจว่าอ้วนเป็นโรคหรือปัญหา และมีผลตามมาด้วยหลายๆ โรค โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู และครอบครัวเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็ก การให้คำปรึกษาทางโภชนาการ ปริมาณอาหารที่เหมาะสม แนะนำ อาหารที่ควรและไม่ควรบริโภค การควบคุมอาหาร วิธีการปรุงอาหาร ปรับเปลี่ยนจากทอดซึ่งมีไขมันสูงมาเป็น ต้ม นึ่ง อบ แทนลดการเติม น้ำตาลในอาหาร การเพิ่มการออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิต การส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ การสนับสนุนจากครอบครัวในการจัดอาหารจานผักและผลไม้ ตลอดจนการที่ พ่อแม่เป็นแบบอย่างนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม จากการศึกษา ของชุติมา ศิริกุลชยานนท์และคณะ ได้ดำ เนินการศึกษาการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ใน เด็กอนุบาลอายุ 4-5 ปี โรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร ก่อนดำ เนินการพบว่าเด็ก บริโภคผักน้อยมาก จากการสำ รวจในมื้อกลางวันในเด็กอนุบาล พบว่าค่ามัธยฐานของการ บริโภคผักเพียง 11 กรัม แสดงให้เห็นว่าการไม่ชอบบริโภคผักเริ่มมาตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็น ช่วงที่เด็กกำลังสร้างสุขนิสัยในการบริโภค การไม่ได้รับการฝึกมาตั้งแต่เล็กตามช่วงวัยของ พัฒนาการ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนวัยผู้ใหญ่ ทำ ให้เด็กปฏิเสธผัก ผู้วิจัยได้สร้างความ ตระหนักและดำ เนินกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องผัก ผลไม้ ด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย สนุก และเด็กได้ร่วมกิจกรรม โดยใช้สื่อต่างๆ ในกิจกรรมได้แก่ ให้เด็กดู การ์ตูนป๊อปอาย (Popeye) เล่านิทานหนูนิดกับฟักทอง ร้องเพลงผักผลไม้ เล่นเกม ทดลอง ให้เด็กปลูกผักแล้วนำ มาปรุงอาหาร ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียมล้างผัก ดูการหั่นและ ประกอบอาหารจานผักร่วมกับผู้วิจัย แล้วให้เด็กได้ลิ้มรส ประสบการณ์จริงที่เด็กได้จับต้อง สัมผัส ล้าง ชั่ง ตวง คน ตัก ชิมอาหารที่ปรุงจากผัก ทำ ให้เด็กชอบและกระตือรือร้น คนที่ไม่ชอบผัก เมื่อนั่งรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ชอบผัก จะถูกชักชวนให้รับประทานผัก เด็กผู้ชายจะยึดป๊อปอายเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแข็งแรง ขณะที่เด็กผู้หญิงจะยึดหนูนิดเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแก้มแดง ผิวสวย นอกจากนี้แรงสนับสนุนทางสังคม คือ การที่คุณครูได้นั่งร่วมวงอาหารกับเด็ก เด็กก็จะสังเกตเห็นครูรับประทานผักก็จะทำตาม และที่น่าสนใจคือการจัดปาร์ตี้ผัก และผลไม้ หลากหลายชนิดให้เด็กได้เห็น สัมผัส บอกชื่อ สี และเล่นเกม สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นความสนใจในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ได้อย่างมาก อีกทั้งผู้วิจัยได้ส่งจดหมายถึงผู้ปกครอง เพื่อเป็นการสื่อสารถึงพัฒนาการของเด็กในการบริโภคผักที่โรงเรียน และขอความร่วมมือสนับสนุนการรับประทานผักที่บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ผู้ปกครองรายงานว่าเด็กมักคุยให้ฟังเรื่องผักต่างๆ มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจที่รับประทานผักในอาหารมื้อกลางวันที่โรงเรียนจากการพูดคุยกับเด็กได้รับทราบว่าทางบ้านได้มีการเตรียมผักในมื้ออาหารเพิ่มขึ้น หลังการศึกษาเด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ข้อแนะนำจากการศึกษานี้ หากเริ่มต้นปลูกฝังบริโภคนิสัยที่ดีตั้งแต่เล็กๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยใช้ประสบการณ์จริง สื่อการ์ตูน นิทาน แรงสนับสนุนจากเพื่อน แบบอย่างจากครู และผู้ปกครอง อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้บริโภคนิสัยที่ดีนี้ยั่งยืน เป็นการสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต การฝึกวินัยในการบริโภคให้เด็ก วินัยในการบริโภคเป็นเวลา 3 มื้อ ไม่จุบจิบรู้จักเลือกชนิดของอาหาร ควรให้เด็กเข้าใจถึงเหตุผล จำ เป็นต้องกระทำ อย่างต่อเนื่องและสม่ำ เสมอค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงการข่มขู่ แต่ควรสนับสนุนให้กำ ลังใจ ยกย่องชมเชยเมื่อมีโอกาส การปลูกฝังการมีวินัยในตนเองให้แก่เด็กวัยเรียนนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาที่ต้องพยายามปลูกฝังความมีระเบียบวินัยให้เหมาะสมกับวัย โดยเริ่มแรกจากสถาบันครอบครัว เพราะบิดามารดามีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็กและคอยอบรมสั่งสอนให้เด็กมีพฤติกรรมความประพฤติที่ดีได้และนอกจากนี้แล้ว ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการเสริมสร้างวินัยให้เด็กเมื่ออยู่ในชั้นเรียน พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ควรร่วมมือกันและประสานแนวคิดระหว่างบ้านและโรงเรียน เวลาและวิธีการทางบวกเพื่อสร้างวินัย ท่านพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต)ได้กล่าวถึงวิธีสร้างวินัยในตนเอง ดังนี้ “การจะให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ยั่งยืนเคยชินย่อมมาจากจิตใจที่มีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำ พฤติกรรมนั้น เมื่อเกิดปัญญาเรียนรู้เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำ นั้น จะเป็นวิธีสร้างวินัยความรับผิดชอบในตนเอง เป็นการจัดสรรโอกาส ทำ ให้ชีวิตและสังคมมีระเบียบเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์” อาหารที่ไม่ควรให้เด็กบริโภค หรือควรหลีกเลี่ยง 1. น้ำอัดลม ประกอบด้วย น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก สารให้รสหวาน ได้แก่ น้ำตาลทรายหรือน้ำ เชื่อมcorn syrup หรือ สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาร์แตม สารปรุงแต่ง เป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว แล้วอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงในน้ำ ในบางยี่ห้อเติม คาเฟอีน และ วัตถุกันเสีย คุณค่าทางโภชนาการ มีพลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เด็ก ที่ดื่มบ่อยๆ และรับประทานอาหารได้มากโดยเฉพาะเด็กอ้วนก็จะอ้วนมากขึ้นตามลำดับ พลังงานที่ให้ต่อ 1 หน่วยบริโภคของน้ำอัดลม ขนาดบรรจุกระป๋อง ความจุ 325 มิลลิลิตร พลังงาน 140-250 กิโลแคลอรี ขึ้นกับ ปริมาณน้ำตาล (8.5-16 ช้อนชา) ซึ่งเกินจากข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก ผลของน้ำอัดลมต่อสุขภาพ อ้วน ความหวานจากน้ำตาลถ้าดื่มมากและบ่อย สะสมพลังงานทำ ให้อ้วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จะต้องวิ่ง เป็นเวลา 15-20 นาทีจึงจะใช้พลังงานหมด ปวดท้อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดลงในน้ำอัดลม จะละลายน้ำกลายเป็น กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำ ให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นโรคกระเพาะเกิด อาการปวดท้อง ก๊าซในน้ำอัดลมทำ ให้ท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้อง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง ฟันผุ เกิดจากกรดในน้ำอัดลมทำลายสารเคลือบฟัน และความหวานที่เป็น อาหารของเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นหัวใจและระบบประสาท คาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลกระตุ้นหัวใจ ทำ ให้ใจสั่น มือสั่น นอนไม่หลับ กระดูกพรุน คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำ ให้ มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลมทำ ให้ระดับแคลเซียม ในร่างกายต่ำลง การดื่มน้ำอัดลมทำ ให้โอกาสของการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดลง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกเปราะ กระดูกผุกร่อนได้ง่าย ขาดสารอาหาร เด็กเล็กๆ ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากๆ ในเวลาที่ใกล้จะถึงมื้ออาหาร มื้อหลักหรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำ ให้อิ่มและรับประทานอาหารมื้อหลักได้ น้อยได้ สารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการอาจขาดสารอาหารได้ 2. ขนมกรุบกรอบ มักมีส่วนผสมของแป้ง น้ำ ตาล ไขมัน และ เกลือ ตลอดจนผงชูรส แต่มีสารอาหารที่จำ เป็นต่อร่างกายต่ำ การบริโภคขนมกรุบกรอบบ่อยๆ ทำ ให้เด็กได้รับพลังงานสูงทั้งหวาน มัน และเค็ม จากการที่ได้รับเกลือในปริมาณสูงทำ ให้เด็กไทยติดรสหวานมันและรสเค็ม มีผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากอ้วน ไขมันในเลือดสูง ฟันผุและเกิดการสะสมเกลือในร่างกาย ทำ ให้ไตทำ งานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต 3. อาหารทอด การบริโภคอาหารทอดบ่อยๆ นอกจากได้รับไขมันสูงทำ ให้อ้วนแล้วน้ำ มันที่ทอด นานๆ และซ้ำ ๆ มักมีสีคล้ำและมีสารก่อมะเร็ง จากการศึกษาพบว่ามีกลุ่มสารก่อมะเร็ง เกิดขึ้นในน้ำ มันทอดซ้ำ ได้แก่ การทอดอาหารแบบน้ำ มันท่วมที่อุณหภูมิสูงมีผลให้น้ำ มัน เสื่อมสภาพได้เร็ว พบสารก่อมะเร็งทั้งในไอระเหยและในน้ำ มันทอดอาหารซ้ำ การศึกษา ทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่สูดไอระเหยน้ำ มันเข้าสู่ปอดเป็นประจำ มีความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งปอด การบริโภคอาหารทอดที่ใช้น้ำ มันทอดอาหารซ้ำ หลายครั้งจึงมีความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งในระยะยาว 4. ไส้กรอก ไส้กรอกเป็นอาหารแปรรูป กระบวนการทำ นำ เนื้อหมูบดกับมันหมู สัดส่วนไขมัน 40-50 % จึงมีไขมันสูง เติมสารกันบูด สี ดินประสิวเพื่อให้เนื้อนุ่ม ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดินประสิวถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยจะสลายเกิดสารก่อมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศอาหารแปรรูปประเภท ไส้กรอก เบคอน ซาลามี กุนเชียง หมูยอ จัดอยู่ในกลุ่ม 1 สารก่อมะเร็งในมนุษย์ระดับเดียวกับบุหรี 5. อาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์ เกิดจากการแปรรูปไขมันไม่อิ่มตัวให้เป็นไขมันอิ่มตัวโดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อให้แข็งขึ้น รสชาติดี เหม็นหืนช้าและเก็บได้นาน ได้แก่ เนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening) ผลิตภัณฑ์ที่มีเนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ หรือทอดด้วยเนยเทียม ได้แก่ เบเกอรี โดนัท ครัวซอง เค๊ก คุกกี้ ขนมกรุบกรอบ ขนมปังอบกรอบต่างๆ ข้าวโพดคั่ว อาหารฟาสต์ฟูดที่ทอดด้วยเนยเทียม เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอดฯลฯ ผลของไขมันทรานส์ เพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-C) และลดไขมันตัวดี ( HDL-C) ทำ ให้ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 6. นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำ นมมาหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำ ให้เกิดโรค จุลินทรีย์จะเพิ่มจำ นวนมากขึ้นและทำ ปฏิกิริยากับน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติ ในน้ำ นม เกิดกรดแล็กทิกที่มีรสเปรี้ยว ได้นมที่มีลักษณะเป็นครีมข้นๆ เรียกว่า โยเกิร์ตชนิด รสธรรมชาติ แต่ในบ้านเรา นิยมเติมน้ำตาล น้ำ เชื่อม ผลไม้เชื่อมต่างๆ ลงไปหรือทำ ให้เหลว โดยเติมน้ำ แล้วเติมน้ำตาล และแต่งรสผลไม้ เป็นนมเปรี้ยวชนิดดื่ม ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมกัน มาก ส่วนใหญ่มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงร้อยละ 35-50 และน้ำตาลสูงถึงร้อยละ 8-20 ซึ่ง สูงกว่านมสดทั่วๆ ไป แต่มีโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่นเพียงครึ่งเดียวของนมสด ปริมาณน้ำตาลสูงใกล้เคียงกับน้ำอัดลม ดื่มนมเปรี้ยว 1 กล่อง (180 มล.) จึงได้น้ำตาล 3 ช้อนชา บางยี่ห้อมีน้ำตาลสูงถึง 7 ช้อนชา ในขณะที่คำแนะนำจากนักวิชาการไม่ควร บริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา การดื่มนมเปรี้ยวมาก ๆ จึงทำ ให้อ้วนและได้รับโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่น น้อยกว่าการดื่มนมสดรสจืด เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.
ค่านิยมเดิมสำ หรับคนส่วนใหญ่ คือ เด็กอ้วนดูน่ารักแต่ปัจจุบันทางการแพทย์ อ้วนถือเป็นโรคเพราะจะตามมาด้วยโรคหลาย ๆ โรค ส่งผลต่อสุขภาพทางกายและสุขภาพจิต ของเด็กซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนและคุณภาพชีวิตอนาคตของเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต ผลตามของโรคอ้วนทางร่างกาย อุ้ยอ้าย เหนื่อยง่าย ภาวะที่ร่างกายต้องแบกรับน้ำ หนักที่มากเกินไป ความคล่องตัวในการเคลื่อไหวก็จะ น้อยกว่าคนที่น้ำ หนักปกติ ทำ ให้เด็กมักจะไม่ค่อยวิ่งเล่นหรือออกกำลังกายเพราะเหนื่อย ง่าย การเรียนรู้ลดลง มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับ ความสนใจ ความตั้งใจในการเรียนรู้ในห้องเรียนของ เด็กอ้วนมักลดลงเมื่อเทียบกับเด็กที่น้ำ หนักปกติ และเด็กอ้วนมีจำ นวนวันของการขาดเรียน มากกว่าเด็กที่มีน้ำ หนักปกติ การเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง พบลักษณะเป็นปื้นดำ หนาและขรุขระคล้ายขี้ไคลขัดถูไม่ออกมักพบที่ ด้านข้างและหลังคอ รักแร้และขาหนีบ (รูปที่1) จะเป็นสัญญาณเตือนภัยที่บ่งบอกว่าเด็กมี ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานหากยังอ้วนต่อไป ระบบทางเดินหายใจ ในเด็กอ้วนพบปัญหาในระบบทางเดินหายใจตั้งแต่โรคหอบ ภูมิแพ้ นอนกรน ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นในขณะหลับ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กอ้วนมีไขมันในช่องท้อง ทรวงอก และผนังทรวงอกมากกว่าเด็กปกติ ทำ ให้การหายใจทรวงอกและปอดขยายไม่ได้เต็มที่ จึงพบว่าเด็กอ้วนจะหายใจเร็วตื้นกว่าเด็กปกติ อาจหยุดหายใจเป็นพักจนถึงหายใจเองไม่ได้ อาจมีอันตรายถึงชีวืตก่อนวัยอันควรด้วยระบบหายใจและหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้พบ โรคหอบ ภูมิแพ้ในภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เด็กอ้วนควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตทั้งนี้เนื่องจากความดันโลหิตสูงขึ้น ตามน้ำ หนักตัว มักพบความดันโลหิตในเด็กอ้วนสูงกว่าในเด็กปกติ ไขมันในเลือดสูง ปัญหาไขมันในเลือดสูงเป็นผลตามของโรคอ้วนที่พบได้ตั้งแต่วัยเด็กมีรายงาน ในต่างประเทศและในประเทศไทย รายงานการศึกษาจากโครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัยในปี 2547 ในโรงเรียนภาครัฐในกรุงเทพมหานคร 4 โรงเรียน จำ นวน 1,028 คน พบว่าเด็กนักเรียนร้อยละ 77 มีภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วนในเด็กทำ ให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินมีความผิดปกติของการใช้น้ำตาลของ ร่างกาย ทำ ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระบบทางเดินอาหาร ภาวะไขมันสะสมในตับที่ไม่เกิดจากแอลกอฮอล์และนิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากสัดส่วน ของคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น วินิจฉัยจากการทำอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน โรคข้อและกระดูก ความผิดปกติที่พบได้แก่ ขาโก่งผิดปกติเนื่อง จากรับน้ำ หนักตัวที่มากเกิด อาการปวดข้อเข่า ขาโก่ง ปวดหลัง กล้ามเนื้อ เอ็นฯลฯ โรคมะเร็ง คนอ้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าคนปกติทั้งนี้มักเป็นผลจากอาหารที่มี ไขมันสูง ไม่บริโภคผัก ผลไม้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระและใยอาหาร ทำ ให้ได้รับกากใย อาหารน้อย เด็กมักมีอาการท้องผูกเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำ ไส้ใหญ่ฯลฯ ในวัย ผู้ใหญ โรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ อ้วนในเด็กจะมีโอกาสอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ผลแทรกซ้อนจากโรคอ้วนดังกล่าว ข้างต้นก็จะตามมา ผลตามของโรคอ้วนทางจิตใจ ปัญหาทางจิตใจ เด็กอ้วนมักถูกเพื่อนล้อเลียนทำ ให้เกิดความเครียด ปมด้อย และสูญเสียความเชื่อมั่น เกิดปัญหาทางจิตใจมีผลต่อการเรียนและพฤติกรรมการบริโภค อาจบริโภคมากขึ้นและทำ ให้อ้วนมากขึ้น สุขภาพจิตที่ผิดปกติส่งผลต่อคุณภาพชีวิต สรุป โรคอ้วนในเด็กส่งผลต่อสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตของเด็ก ตั้งแต่อุ้ยอ้าย เหนื่อยง่าย การเรียนรู้ช้ากว่าเด็กที่น้ำ หนักปกติ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันสะสมในตับ โรคหอบ ภูมิแพ้ นอนกรน หายใจไม่เต็มอิ่ม จนถึงหยุดหายใจเป็นพักๆ ปวดข้อเข่า ปวดหลัง มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่า คนปกติ มีโอกาสอ้วนในวัยผู้ใหญ่ และปัญหาทางสุขภาพจิตมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่า การเห็น คุณค่าในตนเองน้อยกว่าเด็กที่น้ำ หนักปกติ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อการเรียนและคุณภาพ ชีวิตในอนาคตของเด็ก เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.
1. น้ำอัดลม ประกอบด้วย น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก สารให้รสหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย หรือน้ำเชื่อม corn syrup หรือ สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาร์แตม สารปรุงแต่ง เป็น ส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว แล้วอัด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงในน้ำ ในบางยี่ห้อเติม คาเฟอีน และ วัตถุกันเสีย คุณค่าทางโภชนาการ มีพลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เด็ก ที่ดื่มบ่อยๆ และรับประทานอาหารได้มากโดยเฉพาะเด็กอ้วนก็จะอ้วนมากขึ้นตามลำดับ พลังงานที่ให้ต่อ 1 หน่วยบริโภคของน้ำอัดลม ขนาดบรรจุกระป๋อง ความจุ 325 มิลลิลิตร พลังงาน 140-250 กิโลแคลอรี ขึ้นกับ ปริมาณน้ำตาล (8.5-16 ช้อนชา) ซึ่งเกินจากข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก ผลของน้ำอัดลมต่อสุขภาพ อ้วน ความหวานจากน้ำตาลถ้าดื่มมากและบ่อย สะสมพลังงานทำให้อ้วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จะต้องวิ่ง เป็นเวลา 15-20 นาทีจึงจะใช้พลังงานหมด ปวดท้อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดลงในน้ำอัดลม จะละลายน้ำกลายเป็น กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นโรคกระเพาะเกิด อาการปวดท้อง ก๊าซในน้ำอัดลมทำให้ท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้อง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง ฟันผุ เกิดจากกรดในน้ำอัดลมทำลายสารเคลือบฟัน และความหวานที่เป็น อาหารของเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นหัวใจและระบบประสาท คาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลกระตุ้นหัวใจ ทำให้ใจสั่น มือสั่น นอนไม่หลับ กระดูกพรุน คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้ มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลมทำให้ระดับแคลเซียม ในร่างกายต่ำลง การดื่มน้ำอัดลมทำให้โอกาสของการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดลง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกเปราะ กระดูกผุกร่อนได้ง่าย ขาดสารอาหาร เด็กเล็กๆ ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากๆ ในเวลาที่ใกล้จะถึงมื้ออาหาร มื้อหลักหรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและรับประทานอาหารมื้อหลักได้ น้อยได้ สารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการอาจขาดสารอาหารได 2. ขนมกรุบกรอบ มักมีส่วนผสมของแป้ง น้ำ ตาล ไขมัน และ เกลือ ตลอดจนผงชูรส แต่มีสารอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกายต่ำ การบริโภคขนมกรุบกรอบบ่อยๆ ทำให้เด็กได้รับพลังงานสูง ทั้งหวาน มัน และเค็ม จากการที่ได้รับเกลือในปริมาณสูงทำให้เด็กไทยติดรสหวาน มันและรสเค็ม มีผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากอ้วน ไขมันในเลือดสูง ฟันผุและเกิดการสะสม เกลือในร่างกาย ทำให้ไตทำงานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต 3. อาหารทอด การบริโภคอาหารทอดบ่อยๆ นอกจากได้รับไขมันสูงทำให้อ้วนแล้วน้ำ มันที่ทอด นานๆ และซ้ำ ๆ มักมีสีคล้ำและมีสารก่อมะเร็ง จากการศึกษาพบว่ามีกลุ่มสารก่อมะเร็ง เกิดขึ้นในน้ำมันทอดซ้ำ ได้แก่ การทอดอาหารแบบน้ำมันท่วมที่อุณหภูมิสูงมีผลให้น้ำมัน เสื่อมสภาพได้เร็ว พบสารก่อมะเร็งทั้งในไอระเหยและในน้ำมันทอดอาหารซ้ำการศึกษา ทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่สูดไอระเหยน้ำมันเข้าสู่ปอดเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งปอด การบริโภคอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำหลายครั้งจึงมีความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งในระยะยาว 4. ไส้กรอก ไส้กรอกเป็นอาหารแปรรูป กระบวนการทำนำเนื้อหมูบดกับมันหมู สัดส่วนไขมัน 40-50 % จึงมีไขมันสูง เติมสารกันบูด สี ดินประสิวเพื่อให้เนื้อนุ่ม ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดินประสิวถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยจะสลายเกิดสารก่อมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศอาหารแปรรูปประเภท ไส้กรอก เบคอน ซาลามี กุนเชียง หมูยอ จัดอยู่ในกลุ่ม 1 สารก่อมะเร็งในมนุษย์ระดับเดียวกับบุหรี่ 5. อาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์ เกิดจากการแปรรูปไขมันไม่อิ่มตัวให้เป็นไขมันอิ่มตัวโดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อให้แข็งขึ้น รสชาติดี เหม็นหืนช้าและเก็บได้นาน ได้แก่ เนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening) ผลิตภัณฑ์ที่มีเนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ หรือทอดด้วยเนยเทียม ได้แก่ เบเกอรี โดนัท ครัวซอง เค๊ก คุกกี้ ขนมกรุบกรอบ ขนมปังอบกรอบต่างๆ ข้าวโพดคั่ว อาหารฟาสต์ฟูดที่ทอดด้วยเนยเทียม เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอดฯลฯ ผลของไขมันทรานส์ เพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-C) และลดไขมันตัวดี ( HDL-C) ทำให้ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 6. นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนมมาหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค จุลินทรีย์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำปฏิกิริยากับน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติ ในน้ำนม เกิดกรดแล็กทิกที่มีรสเปรี้ยว ได้นมที่มีลักษณะเป็นครีมข้นๆ เรียกว่า โยเกิร์ตชนิด รสธรรมชาติ แต่ในบ้านเรา นิยมเติมน้ำตาล น้ำเชื่อม ผลไม้เชื่อมต่างๆ ลงไปหรือทำให้เหลว โดยเติมน้ำ แล้วเติมน้ำตาล และแต่งรสผลไม้ เป็นนมเปรี้ยวชนิดดื่ม ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมกัน มาก ส่วนใหญ่มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงร้อยละ 35-50 และน้ำตาลสูงถึงร้อยละ 8-20 ซึ่ง สูงกว่านมสดทั่วๆ ไป แต่มีโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่นเพียงครึ่งเดียวของนมสด ปริมาณน้ำตาลสูงใกล้เคียงกับน้ำอัดลม ดื่มนมเปรี้ยว 1 กล่อง (180 มล.) จึงได้น้ำตาล 3 ช้อนชา บางยี่ห้อมีน้ำตาลสูงถึง 7 ช้อนชา ในขณะที่คำแนะนำจากนักวิชาการไม่ควร บริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา การดื่มนมเปรี้ยวมาก ๆ จึงทำให้อ้วนและได้รับโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่น น้อยกว่าการดื่มนมสดรสจืด เด็กไม่ควรได้รับน้ำ ตาลเกิน 4 ช้อนชา/วัน เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด;
การสนับสนุนจากครอบครัวในการจัดอาหารจานผักและผลไม้ ตลอดจนการที่พ่อแม่เป็นแบบอย่างนับเป็นสิ่งสําคัญที่จะเป็นทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม จากการศึกษาของชุติมา ศิริกุลชยานนท์และคณะ ได้ดํา เนินการศึกษาการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ในเด็กอนุบาลอายุ4-5 ปีโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานครก่อนดํา เนินการพบว่าเด็กบริโภคผักน้อยมาก จากการสํา รวจในมื้อกลางวันในเด็กอนุบาล พบว่าค่ามัธยฐานของการบริโภคผักเพียง 11 กรัม แสดงให้เห็นว่าการไม่ชอบบริโภคผักเริ่มมาตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกําลังสร้างสุขนิสัยในการบริโภค การไม่ได้รับการฝึกมาตั้งแต่เล็กตามช่วงวัยของพัฒนาการ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนวัยผู้ใหญ่ ทํา ให้เด็กปฏิเสธผัก ผู้วิจัยได้สร้างความตระหนักและดํา เนินกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องผัก ผลไม้ด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย สนุก และเด็กได้ร่วมกิจกรรม โดยใช้สื่อต่างๆ ในกิจกรรมได้แก่ ให้เด็กดูการ์ตูนป๊อปอาย (Popeye) เล่านิทานหนูนิดกับฟักทอง ร้องเพลงผักผลไม้เล่นเกม ทดลองให้เด็กปลูกผักแล้วนํา มาปรุงอาหาร ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียมล้างผักดูการหั่นและประกอบอาหารจานผักร่วมกับผู้วิจัย แล้วให้เด็กได้ลิ้มรส ประสบการณ์จริงที่เด็กได้จับต้องสัมผัส ล้าง ชั่ง ตวง คน ตัก ชิมอาหารที่ปรุงจากผัก ทํา ให้เด็กชอบและกระตือรือร้น คนที่ไม่ชอบผัก เมื่อนั่งรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ชอบผัก จะถูกชักชวนให้รับประทานผัก เด็กผู้ชายจะยึดป๊อปอายเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแข็งแรง ขณะที่เด็กผู้หญิงจะยึดหนูนิดเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแก้มแดง ผิวสวย นอกจากนี้แรงสนับสนุนทางสังคม คือ การที่คุณครูได้นั่งร่วมวงอาหารกับเด็ก เด็กก็จะสังเกตเห็นครูรับประทานผักก็จะทําตาม และที่น่าสนใจคือการจัดปาร์ตี้ผัก และผลไม้ หลากหลายชนิดให้เด็กได้เห็น สัมผัส บอกชื่อ สี และเล่นเกม สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นความสนใจในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ได้อย่างมาก อีกทั้งผู้วิจัยได้ส่งจดหมายถึงผู้ปกครอง เพื่อเป็นการสื่อสารถึงพัฒนาการของเด็กในการบริโภคผักที่โรงเรียน และขอความร่วมมือสนับสนุนการรับประทานผักที่บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ผู้ปกครองรายงานว่าเด็กมักคุยให้ฟังเรื่องผักต่างๆ มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจที่รับประทานผักในอาหารมื้อกลางวันที่โรงเรียนจากการพูดคุยกับเด็กได้รับทราบว่าทางบ้านได้มีการเตรียมผักในมื้ออาหารเพิ่มขึ้น หลังการศึกษาเด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ข้อแนะนําจากการศึกษานี้ หากเริ่มต้นปลูกฝังบริโภคนิสัยที่ดีตั้งแต่เล็กๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยใช้ประสบการณ์จริง สื่อการ์ตูน นิทาน แรงสนับสนุนจากเพื่อน แบบอย่างจากครู และผู้ปกครอง อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้บริโภคนิสัยที่ดีนี้ยั่งยืน เป็นการสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต
การฝึกวินัยในการบริโภคให้เด็ก วินัยในการบริโภคเป็นเวลา3มื้อไม่จุบจิบ รู้จักเลือกชนิดของอาหารควรให้เด็กเข้าใจถึง เหตุผลจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเด็กควรหลีกเลี่ยงการข่มขู่แต่ควรสนับสนุนให้กำลังใจยกย่องชมเชยเมื่อมีโอกาสการปลูกฝังการมีวินัยในตนเองให้แก่เด็กวัยเรียนนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาที่ต้องพยายามปลูกฝัง ความมีระเบียบวินัยให้เหมาะสมกับวัยโดยเริ่มแรกจากสถาบันครอบครัวเพราะบิดามารดามี บทบาทต่อพฤติกรรมของเด็กและคอยอบรมสั่งสอนให้เด็กมีพฤติกรรมความประพฤติที่ดีได้ และนอกจากนี้แล้วครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการเสริมสร้างวินัยให้เด็กเมื่ออยู่ใน ชั้นเรียนพร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กควรร่วมมือกันและประสานแนวคิดระหว่าง บ้านและโรงเรียนเวลาและวิธีการทางบวกเพื่อสร้างวินัยท่านพระธรรมปิฏก(ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวถึงวิธีสร้างวินัยในตนเองดังนี้ “การจะให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ยั่งยืนเคยชิน ย่อมมาจากจิตใจที่มีความพึงพอใจมีความสุขในการทำพฤติกรรมนั้นเมื่อเกิดปัญญาเรียน รู้เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำนั้นจะเป็นวิธีสร้างวินัย ความรับผิดชอบในตนเองเป็นการจัดสรรโอกาสทำให้ชีวิตและสังคมมีระเบียบเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์” เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.
โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบันทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา และเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย โดยเฉพาะเด็กไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากสังคมตะวันตก นิยมบริโภคอาหารพลังงานสูง รสหวาน มัน เค็ม ได้แก่ ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ขนมเค้ก ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม น้ำหวาน ฯลฯ ขณะเดียวกันมีการบริโภคผักผลไม้น้อย และขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำหนักเกินและเกิดโรคอ้วน ปัญหาโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นภัยคุกคามเด็กไทย โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนและในเขตกรุงเทพมหานครพบโรคอ้วนในอัตราสูงสุด โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย ระยะที่1 ระหว่างปี 2547-2549 ดำเนินการในเครือข่ายโรงเรียนภาครัฐ 4 โรงเรียนได้รายงานผลการศึกษาพบเด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 20 ซึ่งมีไขมันในเลือดสูงถึงร้อยละ 78 ความดันโลหิตในเด็กอ้วนสูงกว่าเด็กปกติ พบ 1 ใน 3 ของเด็กอ้วนมีปื้นดำที่คอสัญญาณเตือนถึงโรค เบาหวาน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่สะสมตั้งแต่วัยเด็กและเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ผลจากการสร้างความตระหนักถึงปัญหาโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนให้กับผู้ปกครองและนักเรียน พบว่าการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนในการแก้ไข ทำให้ปัญหาโรคอ้วนลดลงจาก ร้อยละ 20 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 18 ในปี 2549 ระดับไขมันในเลือดสูงลดลงเหลือร้อยละ 34 ในปี 2549 ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนคือ การเลี้ยงดูที่ตามใจ เด็กอ้วนมีการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูง การขาดวินัยในการบริโภคอาหารเป็นเวลา ใช้เวลาในการดูทีวีมากกว่า และออกกำลังกายน้อยกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญ พฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนทั้งเด็กปรกติและเด็กอ้วนดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินการ ยกเว้นการบริโภคผักผลไม้ยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน จากปี 2550 -2554 การดำเนินการเป็นไปตามตามบริบทของโรงเรียน โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย ระยะที่ 2 โดยการสนับสนุนจาก สสส. ในปี 2555 ทำการสำรวจในเครือข่ายโรงเรียนภาครัฐ 4 โรงเรียนเดิม พบว่านักเรียนประถม 1-6 รุ่นใหม่มีอัตราโรคอ้วนร้อยละ 21 ไขมันในเลือดสูงร้อยละ 66 ใกล้เคียงกับเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และเด็กรุ่นใหม่ยังคงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูง และบริโภคผักผลไม้น้อย ขาดวินัยในการบริโภคอาหารเป็นเวลา ใช้เวลาในการดูทีวีและเล่นเกมมากกว่าการวิ่งเล่นออกกำลังกายไม่ต่างกับระยะที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเหล่านี้ ได้เริ่มสะสมในวัยเด็กและหากยังต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา การมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการกำหนดนโยบาย ครู และผู้ปกครองในการให้ความรู้และจัดหาอาหารที่เหมาะสม สร้างวินัยในการบริโภค การใช้เวลา และการใช้เงินอย่างรู้คุณค่า ย่อมนำมาซึ่งสุขภาวะของนักเรียนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศที่มีประชากรที่มีสุขภาพที่แข็งแรง
เห็นชื่อเรื่องแล้ว คงทำให้หลายท่านสงสัยว่ามีอะไรอยู่ลึกซึ้งกว่าภาพที่ฟันกำลังบดอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในปาก เป็นการช่วยย่อยอาหารขั้นตอนแรกก่อนลงสู่กระเพาะอาหาร เราต่างก็คงคิดไม่ถึงว่าการเคี้ยวจะส่งผลต่อสุขภาพที่ลึกซึ้ง หรือมหัศจรรย์อย่างไร มาติดตามกันต่อไป ท่านรู้หรือไม่ว่า ทำไมกินอาหารเร็ว ๆ จึงทำให้อ้วน อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ว่า ภาวะปกติ เมื่อมีอาหารตกสู่กระเพาะ การส่งสัญญาณจากกระเพาะไปยังสมอง เพื่อให้รับรู้ว่าอิ่ม จะใช้เวลาราว 20 นาที การรับประทานเร็วๆ ไม่ค่อยเคี้ยวจะทำให้อาหารที่ได้รับปริมาณมากเกินพิกัด กว่าที่กระเพาะจะส่งสัญญาณให้สมองรับทราบว่าอิ่มและหยุดรับประทาน กลไกของการเคี้ยว ต้องอาศัย 3 องค์ประกอบ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคี้ยว ฟัน และระบบประสาทสั่งงานควบคุมจากสมอง เมื่อเราเคี้ยวอาหารจะมีการส่งสัญญาณสู่สมอง กระตุ้นเซลสมองส่วนที่เรียก Amygdala ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ และ หลั่งฮอร์โมน Adrenalin และสาร Histamine ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม ช่วยเผาผลาญไขมันในช่องท้อง นอกจากนี้ยังทำให้มีสติสัมปะชัญญะ การไม่เคี้ยวในทางกลับ ไม่มีการหลั่งHistamine จะกินได้มากขึ้น มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นและง่วงนอน กลไกของการเคี้ยว ต้องอาศัย 3 องค์ประกอบ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคี้ยว ฟัน และระบบประสาทสั่งงานควบคุมจากสมอง เมื่อเราเคี้ยวอาหารจะมีการส่งสัญญาณสู่สมอง กระตุ้นเซลสมองส่วนที่เรียก Amygdala ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ และ หลั่งฮอร์โมน Adrenalin และสาร Histamine ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม ช่วยเผาผลาญไขมันในช่องท้อง นอกจากนี้ยังทำให้มีสติสัมปะชัญญะ การไม่เคี้ยวในทางกลับ ไม่มีการหลั่งHistamine จะกินได้มากขึ้น มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นและง่วงนอน โรคอ้วน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญและต้นเหตุของโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าขากรรไกรของคนยุคใหม่ไม่ค่อยพัฒนา อาจเนื่องจากอาหารในปัจจุบัน แตกต่างจากสมัยก่อน และคนยุคใหม่ชอบรับประทานอาหารฟาสท์ฟูด ซึ่งนุ่มกว่าอาหารสมัยก่อน ทำให้เคี้ยวน้อยลง ท่านคง จะสังเกตเห็นว่าคนอ้วนมักจะรับประทานอาหารรวดเร็วและแข่งกับเวลา หรือเด็กอ้วนก็มักรับประทานอาหารรวดเร็วไม่ค่อยเคี้ยว ทำให้รับประทานอาหารได้มาก กว่าจะมีสัญญาณจากกระเพาะไปยังสมองให้รับรู้และอิ่ม การควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการที่ไม่เจ็บปวดที่น่าลอง สามารถทำได้ง่ายโดยการตักอาหารคำเล็กลง เคี้ยวอาหารให้นานขึ้นจะทำให้รับประทานปริมาณอาหารลดลงและมีการเผาผลาญไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น เท่ากับยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว รับรองว่าจะต้องเห็นผลการเปลี่ยนแปลงใน 1-2 สัปดาห์ และจะเร็วกว่านั้นเมื่อร่วมกับการออกกำลังกายอีก 30 นาทีต่อวัน เห็นไหมคะว่า การเคี้ยวมีผลต่อสุขภาพอย่างมหัศจรรย์ หากสนใจผลของการเคี้ยวต่อความจำ กรุณาติดตามในโอกาสต่อไป
1. ส่วนประกอบของน้ำอัดลม 1.1 น้ำ เป็นส่วนประกอบหลักของน้ำอัดลม เป็นน้ำที่สะอาด อาจจะใช้น้ำประปา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน 1.2 สารให้รสหวาน สารให้รสหวาน คือ น้ำตาลทราย นำมาผสมน้ำ แล้วต้มทำเป็นน้ำเชื่อมและกรอง ปัจจุบันมีการใช้สารให้ความหวานตัวอื่น เพิ่มมา เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn syrup) สารทดแทนความหวานเช่นแอสปาเทม 1.3 สารปรุงแต่ง ที่เรียกกันว่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งจะเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว หัวน้ำเชื้อจะนำมาผสมในน้ำเชื่อม 1.4 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะนำมาอัดลงในน้ำหวานที่ผสมไว้ 1.5 คาเฟอีน ในบางยี่ห้อ 1.6 วัตถุกันเสีย 2. ชนิดของน้ำอัดลม น้ำอัดลมบรรจุขวดหรือกระป๋องที่มีจำหน่ายกันทั่วไปนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ตามลักษณะเฉพาะของกลิ่นรสและสีของผลิตภัณฑ์ 2.1 น้ำอัดลมรสโคล่า หรือน้ำดำ น้ำอัดลมประเภทนี้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อโคล่าซึ่งมีคาเฟอีนที่สกัดจากส่วน ใบของต้นโคคาอยู่ด้วยปริมาณของคาเฟอีนในน้ำอัดลมชนิดโคล่าแต่ละยี่ห้อก็จะ แตกต่างกันไปแล้วแต่สูตรลับเฉพาะของแต่ละบริษัท สำหรับสีน้ำตาลเข้มที่เป็นที่มาของสีน้ำดำนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากสีผสมอาหารที่เป็นสีของน้ำตาลเคี่ยวไหม้ ในปัจจุบันมีการใช้สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาเทม แบบนี้จะเรียกกันว่าน้ำอัดลมประเภทไดเอ็ท คนอ้วนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักมักจะซื้อ แบบหลังนี้มาดื่ม 2.2 น้ำอัดลมไม่ใช่โคล่า ได้แก่น้ำอัดลมสีขาวใสที่ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อเลมอน-ไลม์ น้ำอัดลมที่ปรุงแต่งกลุ่นรสเลียนแบบน้ำผลไม้ เช่น ส้ม องุ่น มะนาว ลิ้นจี่ น้ำหวานอัดลม พวกน้ำเขียว น้ำแดง และน้ำอัดลมที่สีเหมือนโคล่าแต่ไม่ใช่ คือ รู้ทเบียร์ เป็นต้น น้ำอัดลมเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากไม่ได้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อชนิดโคล่า อย่างไรก็ตามอาจมีการเติมคาเฟอีนสกัดเล็กน้อยในส่วนผสม เพื่อให้ได้ฤทธิ์กระตุ้นของคาเฟอีน ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปล่าเมื่อดื่ม ตามแต่สูตรของผู้ผลิตซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศด้วย 3. คุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางโภชนาการของน้ำอัดลมอยู่ที่น้ำตาลซึ่งร่างกายสามารถนำ ไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่จุดอ่อนของน้ำอัดลมอยู่ที่ผู้ดื่มได้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เรียกว่าพลังงานที่ว่างเปล่า หรือ Empty calories ดังนั้นถ้าดื่มน้ำอัดลมมากและรับประทานอาหารอื่นน้อย ก็อาจขาดสารอาหาร โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ความหวานทำให้อิ่มและกินอาหารมื้อหลักได้น้อยลง 4. พลังงานที่ให้ต่อ 1 หน่วยบริโภคของน้ำอัดลม - บรรจุกระป๋อง ความจุ 325 มิลลิลิตร พลังงาน140 -250 กิโลแคลอรี ขึ้นกับปริมาณน้ำตาล ที่เติมในแต่ละยี่ห้อ ส่วนประกอบน้ำอัดลมยี่ห้อต่าง ๆ เครื่องดื่มโค้ก 1 กระป๋อง (325 มล.) พลังงานทั้งหมด 140 กิโลแคลอรี ปริมาณน้ำตาล 32.5 กรัม (10%) ปริมาณ โซเดียม 20 มิลลิกรัม แต่งรสและเจือสีธรรมชาติ มิรินด้า กลิ่นส้ม 1 กระป๋อง (325 มล.) พลังงานทั้งหมด 160 กิโลแคลอรี ปริมาณน้ำตาล 41.6 กรัม (12.8 % ) แต่งกลิ่นธรรมชาติ เจือสีสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย มิรินด้า กลิ่นมะนาว 1 กระป๋อง (325 มล.) พลังงานทั้งหมด 145 กิโลแคลอรี ปริมาณน้ำตาล 36.4 กรัม (11.2% ) แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ เจือสีธรรมชาติและสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย มิรินด้า กลิ่นครีมโซดา 1 กระป๋อง (325 มล.) พลังงานทั้งหมด 250 กิโลแคลอรี ปริมาณน้ำตาล 64.7 กรัม (19.9 % ) แต่งกลิ่นและเจือสีสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย มิรินด้า กลิ่นสตอเบอรี่ ปริมาตร 325 มล. พลังงานทั้งหมด 250 กิโลแคลอรี ปริมาณน้ำตาล 64.7 กรัม (19.9 % ) แต่งกลิ่นและเจือสีสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย มิรินด้า กลิ่นองุ่น ปริมาตร 325 มล. พลังงานทั้งหมด 160 กิโลแคลอรี ปริมาณน้ำตาล 39.6 กรัม (12.2 % ) แต่งกลิ่นธรรมชาติและสังเคราะห์ เจือสีธรรมชาติและสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย แฟนต้า รสสตรอเบอรี 1 กระป๋อง (325 ml) พลังงานทั้งหมด 190 กิโลแคลอรี ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 48 กรัม ปริมาณน้ำตาล 41 กรัม (14%) ปริมาณ โซเดียม 5 มิลลิกรัม แฟนต้า น้ำเขียว 1 กระป๋อง (325 ml) พลังงานทั้งหมด 200 กิโลแคลอรี ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 49 กรัม ปริมาณน้ำตาล 39 กรัม (14%) ปริมาณ โซเดียม 5 มิลลิกรัม สไปรท์ 1 กระป๋อง (325 ml) พลังงานทั้งหมด 200 กิโลแคลอรี ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 49 กรัม ปริมาณน้ำตาล 41 กรัม (14%) ปริมาณ โซเดียม 20 มิลลิกรัม 5.ผลของน้ำอัดลมต่อสุขภาพ 1.อ้วน ความหวาน จาก น้ำตาลถ้าดื่มมากและบ่อย สะสมพลังงาน ทำให้อ้วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จะต้องวิ่ง เป็นเวลา 15-20 นาทีจึงจะใช้พลังงานหมด 2.ฟันผุ เกิดจากกรดในน้ำอัดลมทำลายสารเคลือบฟัน และความหวานที่เป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ 3.ปวดท้อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อัดในน้ำอัดลมจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรด จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นโรคกระเพาะเกิดอาการปวดท้อง แก๊สในน้ำอัดลมทำให้ท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้อง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง 4. กระตุ้นหัวใจและ ระบบประสาท ผลจากคาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลกระตุ้นหัวใจทำให้ใจสั่น มือสั่น นอนไม่หลับ 5.กระดูกพรุน คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลม ทำให้ระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำลง การดื่มน้ำอัดลมทำให้โอกาสชองการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ลดลง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกเปราะ กระดูกผุกร่อนได้ง่าย 6.ขาดสารอาหารเด็กเล็กๆ ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากๆ ในเวลาที่ใกล้จะถึงมื้ออาหารมื้อหลัก หรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและรับประทานอาหารมื้อหลักได้น้อย ได้สารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ อาจขาดสารอาหารได้ พิจารณาดูแล้วนอกจากรสชาติที่หลายคนชื่นชอบ ผลกระทบทางลบต่อสุขภาพดูจะเป็นข้อควรสอนให้เด็กๆและผู้ปกครองได้รับรู้ และเป็นตัวแบบในการไม่สนับสนุนในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพต่อลูกๆ ของเรา เอกสารอ้างอิง 1.www.geocities.com/Heartland/4269/nutrition.html( Accessed 1/8/2006). 2.7xpub.com/coke/7xobj.html ( Accessed 3/8/2006) 3.www.cspinet.org/liquidcandy ( Accessed 6/8/2006)
อย่างไรจึงเรียกว่าดูดี? คำว่า “ดูดี” นั้น มีการใช้ในหลายโอกาส ซึ่งจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อบอกว่า ดูดี ที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะหมายถึงขนาดร่างกายและแบบแผนการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนโดย เฉพาะในระดับประถมศึกษา และในผู้ใหญ่ทั่วๆ ไป ดังนั้น ขนาดร่างกาย และแบบแผนการเจริญเติบโตในเด็กที่เรียกว่า ดูดี นั้น ก็น่าจะหมายถึงเด็กที่มีแบบแผนการเจริญเติบโตที่เหมาะสมตามวัย ไม่มีปัญหาทุพโภชนาการทั้งด้านการขาดและเกิน เป็นขนาดร่างกายที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถปฏิบัติกิจกรรมและการเรียน รู้ได้ดีที่สุด ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่ขนาดร่างกายที่เรียกว่า ดูดี นั้น น่าจะหมายถึงขนาดของร่างกายที่ไม่อ้วนและผอมจนเกินไป และเป็นขนาดของร่างกายที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้น้อยที่สุด วิธีการประเมินเพื่อบอกว่า “ดูดี” นั้นทำได้อย่างไร? โดยทั่วไปการประเมินภาวะการเจริญเติบโตในเด็กซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ภาวะ โภชนาการขอ1งเด็กนั้น วิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือวัดและเทคนิคการวัดที่ถูกต้อง เครื่องชั่งนำหนักที่เที่ยงตรงสูง เช่น เครื่องชั่งชนิดที่ใช้ระบบคานงัด (Beam balance scale) หรือแบบ digital เป็นตัวเลขที่ใช้ตามโรงพยาบาลและมีสเกลบอกค่าละเอียดเป็น 0.1 กิโลกรัม จะเหมาะสมกว่าเครื่องชั่งชนิดสปริง (Bath room scale) การชั่งน้ำหนักควรทำในขณะที่ผู้ถูกวัดสวมเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น ควรทำก่อนเวลาอาหาร ถ้าเป็นการวัดเพื่อติดตามการเจริญเติบโตหลายๆ ครั้ง ควรทำการชั่งในเวลาเดียวกัน อ่านค่าน้ำหนักเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง สำหรับเครื่องมือวัดความสูง ควรเป็นเทปโลหะมาตรฐานที่มีสเกลละเอียดเป็น 0.1 เซนติเมตร ทาบติดกับแผ่นกระดานที่สามารถนำไปติดตั้งในลักษณะตั้งฉากกับพื้นเรียบและไม้ ฉากสำหรับวัดเพื่อบอกความสูง อ่านค่าความสูงเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งการวิเคราะห์เพื่อการแปลผลภาวะการเจริญเติบโตในเด็ก โดยทั่วไปจะนิยมใช้ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ซึ่งจะมีข้อจำกัดบางประการ ตังอย่างเช่น กรณีของเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุต่ำกว่าเกณฑ์ จะไม่สามารถบ่งบอกได้ว่า การมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์นั้นเกิดจากเด็กซูบผอมจากการขาดสารอาหารในระยะ เวลาสั้นๆ หรือเป็นเด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าจากการขาดสารอาหารมานานจนทำให้มีรูปร่าง เตี้ยและมีน้ำหนักตัวน้อย นอกจากนี้ กรณีของเด็กที่มีรูปร่างค่อนข้างสูงเมื่อเทียบตามเกณฑ์อายุ และมีน้ำหนักตัวมากสัมพันธ์กับส่วนสูง จะถูกประเมินว่าเป็นเด็กอ้วนได้ ดังนั้น น้ำหนักตามเกณฑ์อายุจึงเหมาะสำหรับการประเมินภาวะการขาดสารอาหาร โดยรวมในเด็ก และไม่เหมาะสำหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินโดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป และน้ำหนักตามเกณฑ์อายุจะมีประโยชน์มากสำหรับการติดตามเฝ้าระวังแบบแผนการ เจริญเติบโตของเด็ก เพื่อการควบคุมกำกับและส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญที่เหมาะสม การเจริญของ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเด็กมีการขาดสารอาหารในระยะยาวหรือแบบเรื้อรัง ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตของส่วนสูงช้า จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการเพียงลำพังโดยเฉพาะการ ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินโครงการในช่วงสั้นๆ ควรใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้อื่น เช่น น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือซูบผอม แสดงว่า มีการขาดสารอาหารในระยะสั้นหรือแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงยังเป็นตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมสำหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินในเด็ก อายุ 2 ปี ขึ้นไป ดังนั้น ในการพิจารณาการเจริญเติบโตหรือภาวะโภชนาการของเด็กที่ดีที่สุดคือ การพิจารณาจากตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เกณฑ์การพิจารณาเพื่อบอกว่า “ดูดี” คืออะไร? การพิจารณาการเจริญเติบโตของเด็กว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น ปัจจุบันใช้เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนักและส่วนสูง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 (ตามรูปกราฟ) เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าเด็กมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากเกินเกณฑ์ที่ ชัดเจน จะใช้ช่วงการเจริญเติบโตที่น้อยกว่าหรือมากกว่าค่ามัธยฐาน (Median) + 2 S.D. (Median + 2 S.D.) ยกเว้น น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง จะตัดสินว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงมากกว่า 2 S.D. อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการค้นหาปัญหาเด็กที่เริ่มมีการเจริญเติบโตไม่เหมาะสม กรมอนามัยได้เพิ่มค่าอ้างอิงที่ Median +1.5 S.D. ช่วงการเจริญเติบโตระหว่าง +1.5 – 2 S.D. ถือว่าเป็นช่วงที่ต้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปสูการ เกิดปัญหาที่ชัดเจนทั้งด้านการขาดและเกิน อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพิจารณาว่าการเจริญเติบโตของน้ำหนักและส่วนสูงในเด็กช่วงใดที่จะถือได้ ว่า เป็นช่วงการเจริญเติบโตที่ควรส่งเสริมให้เกิดมากที่สุด หรือ “ดูดี” ก็คือ ช่วงการเจริญเติบโตของน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ที่ Median + 1.5 S.D. การประเมินเพื่อบอกว่า “ดูดี” ในผู้ใหญ่เป็นอย่างไร? การประเมินขนาดร่างกายผู้ใหญ่เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ภาวะสุขภาพที่นิยมใน ปัจจุบัน ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) ซึ่งได้จากการนำค่าน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร ยกกำลังสอง ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (ส่วนสูงเป็นเมตร)2 การแจกแจงระดับค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย <18.5 กก./ม.2 หมายถึง ผอม 18.5-24.9 กก./ม.2 หมายถึง ปกติ 25.0-29.9 กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ1 30.0-39.9 กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ2 > 40.0กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ3 การศึกษาในปัจจุบันหลายการศึกษา แสดงว่า คนเอเซียที่มีดัชนีมวลกายเท่ากับคนยุโรปจะมีเปอร์เซนต์ของไขมันในร่างกายที่ มากกว่า และเริ่มมีปัญหาสุขภาพในระดับของค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า จึงมีการเสนอการแจกแจงระดับค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเซีย ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย <18.5 กก./ม.2 หมายถึง ผอม 18.5-22.9 กก./ม.2 หมายถึง ปกติ 23.0-24.9 กก./ม.2 หมายถึง ค่อนข้างท้วม(เริ่มเสี่ยง) 25.0-29.9 กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ1 > 30.0กก./ม.2 หมายถึง อ้วนระดับ2 การแจกแจงระดับค่าดัชนีมวลกายดังกล่าว การใช้ค่าดัชนีมวลกาย <18.5 กก/ม2 จากการสังเกตจะเป็นผู้ที่มีรูปร่างค่อนข้างผอม ดังนั้น ถ้าจะพิจารณาว่า ค่าดัชนีมวลกายที่ทำให้ “ดูดี” ไม่ผอมเกินไปหรืออ้วนเกินไปและเป็นช่วงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุดในที่นี้จึงขอเสนอ ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 19.0 – 22.9 กก./ม.2ซึ่งสอดคล้องกับค่าน้ำหนักตามส่วนสูงขององค์การอนามัยโลกที่เสนอไว้ใน Jellffe D.B., 1966. (WHO Monograph Series No. 53, 1966) นอกจากนี้ การวัดเส้นรอบวงเอวซึ่งแสดงถึงการสะสมไขมันบริเวณช่องท้อง พบว่า เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่ดี ดังนั้น จึงควรนำเส้นรอบวงเอวมาพิจารณาร่วมกับค่าดัชนีมวลกาย กล่าวคือ ในผู้ใหญ่ ขนาดของร่างกายที่ “ดูดี” คือ ควรมีดัชนีมวลกายระหว่าง 19 – 22.9 กก./ม.2 และมีเส้นรอบวงเอวไม่เกิน 90 ซม. (36 นิ้ว) สำหรับเพศชาย และ ไม่เกิน 80 ซม. (32 นิ้ว) สำหรับเพศหญิง แหล่งข้อมูล : World Health Organization 2000:20.
สุขภาพดีเราต้องดูแลตนเอง นอกจากอาหาร อากาศบริสุทธิ์ และจิตใจสบายไม่เครียดแล้ว การออกกำลังให้สุขภาพดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่มักจะมีข้อแก้ตัวบ่อยๆว่า ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ความจริงแล้วไม่ต้องใช้เวลามากมายเพียงแค่วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็พอ จะเกิดผลดีต่อหัวใจและปอด และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายหรือเครื่องมือราคาแพงอะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว วิธีดีที่สุดคือการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านไม่สะดวกหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุ อาจใช้วิธีถีบจักรยานอยู่กับที่หรือเดินบนสายพานในขณะที่ฟังข่าวหรือดูละคร โทรทัศน์ ต้องถือว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน มารู้จักการออกกำลังกายที่ดี Aerobic exercise คือ การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง นานพอคือประมาณ 30 นาที และ หนักพอ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ฯลฯ ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่(เช่น ขา หรือแขน) ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนและดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมอยู่มาใช้เป็นพลังงาน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้หัวใจ ปอด และระบบหมุนเวียนโลหิตแข็งแรง ซึ่งก็คือวิธีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายจนเป็นนิสัยที่จริงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก คือ ต้องมีพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นตัวอย่างตัวนำพาเด็กไปออกกำลังกาย ไม่ว่าเด็กหญิงหรือชายถ้าไม่เคยออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้มีปัญหาทางจิตวิทยา จะไปออกกำลังกายนอกบ้านสักทีก็เขิน กลัวคนเห็นกลัวคนจ้อง กลัวคนนินทาว่าวิ่งไม่เป็น ไม่สวย ต่างๆ นานา ทำให้เป็นอุปสรรคใหญ่ในการออกกำลังกาย วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราออกกำลังได้คือ หาวิธีออกกำลังกายที่เราชอบ เข้ากับนิสัยของเรา หรือการเล่นกับเด็ก ก็เป็นเรื่องที่ดี บางครั้งถ้าเราเบื่อการวิ่งระยะทาง เราก็อาจจะลองไปเดินตามโรงเรียน ที่มีเด็กๆ เล่นกีฬาแล้วเข้าไปเล่น ทำตัวเป็นเด็กๆ เช่นเล่นบาสเก็ตบอล ฟุตบอล การเล่นแบบนี้ ทำให้เพลิดเพลินและเล่นได้นาน ผลดีของการออกกำลังกาย การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหัวใจ หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตลดลง ลดโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ป้องกันโรคอ้วน ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดไขมัน ในเลือด ทำให้โคเลสเตอโรล, ไตรกลีเซอไรด์, LDLลดลง เพิ่มไขมันดี ในเลือด คือ HDL ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทำให้ร่างกายสดชื่ การสร้างวินัย ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่กำลังสร้างลักษณะนิสัยและต่อเนื่องถึงเด็กวัยเรียนซึ่งจะมี กระบวนการเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น เด็กจะเลือกทำกิจกรรมอย่างที่สนใจและลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความจำและการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล การฝึกวินัยทำให้เด็กเกิดนิสัยในการควบคุมตนเอง อันจะช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้ โดยไม่ล่วงเกินสิทธิหรือประพฤติผิดมารยาทของสังคม การฝึกวินัยให้เด็กจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเด็ก และควรให้เด็กเข้าใจถึงเหตุผลของกฎระเบียบนั้น ๆ ควรหลีกเลี่ยงการข่มขู่ แต่ควรสนับสนุนให้กำลังใจยกย่องชมเชยเมื่อมีโอกาส สถาบันที่มีบทบาทในการการปลูกฝังการมีวินัยแก่คนในชาติ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมืองและการปกครอง สื่อมวลชน และองค์กรอิสระ ถึงแม้ว่าการพัฒนาการมีวินัยต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายสถาบันดังกล่าวไป แล้วนั้น การปลูกฝังการมีวินัยในตนเองให้แก่เด็กวัยเรียนนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของ สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาที่ต้องพยามปลูกฝังความมีระเบียบวินัยให้เหมาะสมกับวัย โดยเริ่มแรกจากสถาบันครอบครัว เพราะบิดามารดามีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็กและคอย อบรมสั่งสอนให้เด็กมีพฤติกรรมความประพฤติที่ดีได้ และนอกจากนี้แล้ว ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการเสริมสร้างวินัยให้เด็กเมื่ออยู่ในชั้น เรียน พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ควรร่วมมือกันและประสานแนวคิดระหว่างบ้านและโรงเรียน เวลา และวิธีการทางบวกเพื่อสร้างวินัย ท่านพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่างถึง วิธีสร้างวินัยในตนเอง ดังนี้ “ การจะให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ยั่งยืนเคยชิน ย่อมมาจากจิตใจที่มีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำพฤติกรรมนั้น เมื่อเกิดปัญญาเรียนรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำนั้น จะเป็นวิธีสร้างวินัยความรับผิดชอบในตนเอง เป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระเบียบเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์ “ มุ่งหวังให้เด็กได้แนวทางในการประพฤติปฏิบัติ โดยการปฏิบัตินั้นซึมซับเข้าไปในตัวเด็กควบคุมตัวเองในการกระทำสิ่งต่างๆ ได้ตามความคาดหวังและมีความสุข โดยเฉพาะ เป็นคนตรงต่อเวลา มีวินัยในการกิน กินเป็นเวลา 3 มื้อ ไม่จุบจิบ การเรียน ใฝ่รู้ จัดตารางสอน ทำการบ้าน อ่านทบทวนบทเรียน เข้าเรียนสม่ำเสมอ การเล่น เล่นและออกกำลังกายเป็นเวลา การทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย การเข้านอน ตื่นเป็นเวลา การใช้เงิน รู้จักประหยัด อดออม รู้คุณค่าของเงิน แนวทางปฏิบัติ จัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน ในระดับครอบครัวและในสถาบันการศึกษา เพื่อให้นักเรียนทราบความคาดหวัง ส่งเสริมทางเลือกและโอกาสผ่านกิจกรรมต่างๆ หาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน ครู/ผู้ปกครองเป็นแบบอย่าง มีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ ไม่ควรนำเด็กมาเปรียบเทียบกัน ปรับเปลี่ยนเทคนิคให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ให้เด็กรู้แผนงานในแต่ละวัน สิ่งแวดล้อมที่ดี ความรัก ความเข้าใจ การติดตามอย่างต่อเนื่อง สอนให้มีทักษะชีวิต เหมาะสม ไม่เหมาะสม ผลดีของการมีวินัย ทำให้เกิดความมั่นใจ สามารถควบคุมตนเอง ควบคุมอารมณ์ และการกระทำ นำไปสู่ ความมั่นใจในตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ทำให้เข้าใจตนเอง มองภาพตนเองดีขึ้นเมื่อประสบผลสำเร็จและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทำงานได้ประสบผลสำเร็จ ทำให้เป็นคนที่ทำอะไรอย่างมีจุดมุ่งหมาย ทำให้สามารถควบคุมตนเองและการกระทำให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ทำให้เห็นคุณค่าของเวลา เงิน สิ่งที่อยู่รอบข้างและรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับของสังคม การปลูกฝังวินัยในเด็กช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก ตามวัย หากที่ผ่านมายังไม่มีการฝึก ยังไม่ช้าไปที่จะเริ่ม ต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของเด็กก่อน การจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กทราบเหตุผล (ย่อมดีกว่าการออกคำสั่ง การบังคับ หรือการลงโทษ) เมื่อเด็กเกิดความพึงพอใจ มีความสุขในการกระทำพฤติกรรมนั้น เมื่อเกิดปัญญาเรียนรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำนั้น จะเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แบบยั่งยืน เอกสารอ้างอิง : พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) วิธีสร้างวินัยในตนเองน ลดความเครียด จากการที่สมองผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่งชื่อ เอนดอร์ฟิน ออกมาในขณะออกกำลังกาย ฮอร์โมนนี้มีลักษณะคล้ายมอร์ฟีน จึงทำให้รู้สึกเป็นสุข ช่วยให้นอนหลับสบายและหลับสนิท ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยให้ท้องไม่ผูก เพราะลำไส้มีการขยับตัวดีขึ้น หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ไม่เคร่งเครียด สนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรทำโดยสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 20 - 30 นาที การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงยืดเหยียดและอบอุ่นร่างกาย 5 – 10 นาที ช่วงแอโรบิค 20 – 30 นาที ช่วงผ่อนคลาย 5 – 10 นาที ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย หัวใจ, หลอดเลือด, และระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มีการปรับตัวทั้งด้านอุณหภูมิ และการทำงาน ป้องกันอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจจะขาดเลือดทันทีถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มแรก ป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม ล้มลงโดยไม่รู้สึกตัวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มต้น ลดโอกาสบาดเจ็บของข้อต่อ เอ็นและกล้ามเนื้อเนื่องจากมีการปรับตัวในการใช้งานอย่างต่อเนื่องจากเบาไปหนัก ข้อดีของการผ่อนคลายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ทำให้หัวใจ, หลอดเลือด, กล้ามเนื้อ และระบบประสาทอัตโนมัติ กลับคืนสู่สภาพปกติ ลดโอกาสเกิดอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ลดโอกาสเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ จากภาวะเลือด ไปเลี้ยงสมองไม่พอ ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว ช่วยกำจัดกรดแลคติคได้ดี ทำให้ไม่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย สรุป ข้อควรปฏิบัติในการ ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันครั้งละ 30 นาที ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหม ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนคลายก่อนเลิกออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย ออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนาน การแต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย ออกกำลังกายในสถานที่ปลอดภัย ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย ควรงด การออกกำลังกายชั่วคราวในภาวะต่อไปนี้ ไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หลังจากฟื้นไข้ใหม่ๆ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มมากมาใหม่ๆ ในเวลาที่อากาศร้อนจัดและอบอ้าวมาก เอกสารอ้างอิง Standfield PS. Nutrition and Diet Therapy. 2nd edition London : Jones and Bartlett Publishers, Inc., 1992. www.anamai.moph.go.th/hpc12/artic/artic_03.h (accessed July 15,2004) www.mdcu.net/interest01.html (accessed July 15,2004) edtech.pn.psu.ac.th/physical/content/ari/physical.htm (accessed July 15,2004)
สุขภาพดีเราต้องดูแลตนเอง นอกจากอาหาร อากาศบริสุทธิ์ และจิตใจสบายไม่เครียดแล้ว การออกกำลังให้สุขภาพดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่มักจะมีข้อแก้ตัวบ่อยๆว่า ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ความจริงแล้วไม่ต้องใช้เวลามากมายเพียงแค่วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็พอ จะเกิดผลดีต่อหัวใจและปอด และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายหรือเครื่องมือราคาแพงอะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว วิธีดีที่สุดคือการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านไม่สะดวกหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุ อาจใช้วิธีถีบจักรยานอยู่กับที่หรือเดินบนสายพานในขณะที่ฟังข่าวหรือดูละคร โทรทัศน์ ต้องถือว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน มารู้จักการออกกำลังกายที่ดี Aerobic exercise คือ การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง นานพอคือประมาณ 30 นาที และ หนักพอ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ฯลฯ ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่(เช่น ขา หรือแขน) ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนและดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมอยู่มาใช้เป็นพลังงาน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้หัวใจ ปอด และระบบหมุนเวียนโลหิตแข็งแรง ซึ่งก็คือวิธีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายจนเป็นนิสัยที่จริงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก คือ ต้องมีพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นตัวอย่างตัวนำพาเด็กไปออกกำลังกาย ไม่ว่าเด็กหญิงหรือชายถ้าไม่เคยออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้มีปัญหาทางจิตวิทยา จะไปออกกำลังกายนอกบ้านสักทีก็เขิน กลัวคนเห็นกลัวคนจ้อง กลัวคนนินทาว่าวิ่งไม่เป็น ไม่สวย ต่างๆ นานา ทำให้เป็นอุปสรรคใหญ่ในการออกกำลังกาย วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราออกกำลังได้คือ หาวิธีออกกำลังกายที่เราชอบ เข้ากับนิสัยของเรา หรือการเล่นกับเด็ก ก็เป็นเรื่องที่ดี บางครั้งถ้าเราเบื่อการวิ่งระยะทาง เราก็อาจจะลองไปเดินตามโรงเรียน ที่มีเด็กๆ เล่นกีฬาแล้วเข้าไปเล่น ทำตัวเป็นเด็กๆ เช่นเล่นบาสเก็ตบอล ฟุตบอล การเล่นแบบนี้ ทำให้เพลิดเพลินและเล่นได้นาน ผลดีของการออกกำลังกาย การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหัวใจ หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตลดลง ลดโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ป้องกันโรคอ้วน ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดไขมัน ในเลือด ทำให้โคเลสเตอโรล, ไตรกลีเซอไรด์, LDLลดลง เพิ่มไขมันดี ในเลือด คือ HDL ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทำให้ร่างกายสดชื่น ลดความเครียด จากการที่สมองผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่งชื่อ เอนดอร์ฟิน ออกมาในขณะออกกำลังกาย ฮอร์โมนนี้มีลักษณะคล้ายมอร์ฟีน จึงทำให้รู้สึกเป็นสุข ช่วยให้นอนหลับสบายและหลับสนิท ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยให้ท้องไม่ผูก เพราะลำไส้มีการขยับตัวดีขึ้น หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ไม่เคร่งเครียด สนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรทำโดยสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 20 - 30 นาที การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงยืดเหยียดและอบอุ่นร่างกาย 5 - 10 นาที ช่วงแอโรบิค 20 - 30 นาที ช่วงผ่อนคลาย 5 - 10 นาที ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย หัวใจ, หลอดเลือด, และระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มีการปรับตัวทั้งด้านอุณหภูมิ และการทำงาน ป้องกันอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจจะขาดเลือดทันทีถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มแรก ป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม ล้มลงโดยไม่รู้สึกตัวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ถ้าเริ่มออกกำลังกายหนักตั้งแต่เริ่มต้น ลดโอกาสบาดเจ็บของข้อต่อ เอ็นและกล้ามเนื้อเนื่องจากมีการปรับตัวในการใช้งานอย่างต่อเนื่องจากเบาไปหนัก ข้อดีของการผ่อนคลายทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ทำให้หัวใจ, หลอดเลือด, กล้ามเนื้อ และระบบประสาทอัตโนมัติ กลับคืนสู่สภาพปกติ ลดโอกาสเกิดอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ลดโอกาสเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ จากภาวะเลือด ไปเลี้ยงสมองไม่พอ ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว ช่วยกำจัดกรดแลคติคได้ดี ทำให้ไม่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย สรุป ข้อควรปฏิบัติในการ ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันครั้งละ 30 นาที ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหม ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนคลายก่อนเลิกออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย ออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนาน การแต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย ออกกำลังกายในสถานที่ปลอดภัย ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย ควรงด การออกกำลังกายชั่วคราวในภาวะต่อไปนี้ ไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หลังจากฟื้นไข้ใหม่ๆ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มมากมาใหม่ๆ ในเวลาที่อากาศร้อนจัดและอบอ้าวมาก เอกสารอ้างอิง Standfield PS. Nutrition and Diet Therapy. 2nd edition London : Jones and Bartlett Publishers, Inc., 1992. www.anamai.moph.go.th/hpc12/artic/artic_03.h (accessed July 15,2004) www.mdcu.net/interest01.html (accessed July 15,2004) edtech.pn.psu.ac.th/physical/content/ari/physical.htm (accessed July 15,2004)
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าขนม มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเด็ก ซึ่งมักเป็นหนึ่งในหลายๆอย่างที่ผู้ใหญ่มักนำมาใช้ล่อหลอก หรือเป็นเครื่องต่อรองหรือให้รางวัลกับเด็ก ถ้ามองถึงความสำคัญของขนมแล้ว ขนมดูจะมีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับอาหารหลัก 3 มื้อ ขนมส่วนใหญ่มักทำจากแป้ง น้ำตาล ซึ่งให้เพียงพลังงาน รสหวาน มัน เค็ม อาจเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ แต่พบว่าเด็กกลับรับประทานมากและนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ เด็กที่ทานอาหารหลัก 3 มื้อได้มากและยังเพิ่มขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะขณะดูทีวี ก็จะนำมาซึ่งโรคอ้วน ส่วนในเด็กที่น้ำหนักน้อย ขนมขบเคี้ยวจะยิ่งทำให้การจะรับประทานอาหารมื้อหลักลดลง ทำให้การเจริญเติบโตล่าช้า การศึกษาของ สสส. พบว่าค่าขนมของเด็กไทยใช้จ่ายมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท/ปี=งบประมาณของ 6 กระทรวง ซึ่งเป็นการสูญเสียอย่างมาก 65 % ของค่าขนมเด็กใช้ไปในการซื้อขนมกรุบกรอบ การศึกษาในภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าขนมขบเคี้ยวที่เด็กรับประทานคิดเป็นพลังงานร้อยละ 20 ของพลังงานที่ควรได้รับประจำวัน ซึ่งสูงพอสมควร และไปแทนที่อาหารหลัก 5 หมู่ ที่มีประโยชน์มากกว่า ขนม/อาหารว่างเด็ก ที่มีขายในขณะนี้ ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ทอฟฟี่ เวเฟอร์ ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ปลาหมึกอบกรอบ ไอศกรีม เจลลี่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมไทย ในทางโภชนาการ “ขนม”ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หมายถึงขนมที่มีส่วนประกอบของสารอาหารครบ 5 หมู่ คือการมีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ เพิ่มจาก แป้ง น้ำตาล ไขมัน ที่มีอยู่ เนื่องจากในขนมกรุบกรอบส่วนใหญ่ จะมีแป้ง น้ำตาล ไขมัน ผงชูรส เกลือ ซึ่งให้เพียงพลังงานและอาจเป็นโทษกับร่างกาย ขนม/อาหารว่างที่มีคุณค่า และมองในภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนมไทย น่าจะมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่า ยกตัวอย่าง ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง มีวิตามินเอ ข้าวต้มมัด ถั่วแปบ รสไม่หวานจัด มีแป้ง โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร ถั่ว งา มีโปรตีน และแคลเซียม ผลไม้ ส้ม กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ ซึ่งมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในทุกเพศ ทุกวัย ขนมที่ควรหลีกเลี่ยง ขนมกรุบกรอบ ที่มีเกลือ ผงชูรส ขนมที่ใส่สีฉูดฉาด ลูกอม ขนมทุกชนิดที่ผสมกาแฟ เจลลี่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ไอติมแท่ง ขนมกรุบกรอบ ได้รับความนิยมสูง มักทำจากแป้ง มันฝรั่ง เกลือ ไขมัน และผงชูรส แต่งกลิ่น รส สี รสชาติส่วนใหญ่จะคล้ายกัน คือหวาน มัน เค็ม สำหรับแป้ง น้ำตาลไขมันจะให้พลังงาน รับประทานมากเกินไปจะทำให้อ้วน และเป็นสาเหตุของโรคฟันผุในเด็ก เกลือ มีผลต่อสุขภาพ ทำให้ไตทำงานหนัก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ผงชูรส มีผลเสียต่อสุขภาพ มีโซเดียมเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเกลือแกง อาจทำให้มีความดันโลหิตสูง อาการแพ้ผงชูรสได้เช่น ชาที่ปาก ลิ้น หน้า ร้อนวูบวาบ ผื่นแดงตามตัว แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก มีผลต่อระบบประสาท และสะสมนานๆ จะทำให้มีผลต่อประสาทตา ทำให้ตาบอดได้ การเกิดมะเร็ง ไตวาย ขนมที่ใส่สีฉูดฉาด ถ้าไม่ใช่สีผสมอาหาร จะเกิดเป็นโทษต่อร่างกาย เพราะจะมีโลหะหนัก เช่นตะกั่ว จะเป็นพิษต่อทั้งระบบประสาท ไต ฯลฯ ลูกอม น้ำตาล หวาน ทำให้ฟันผุ ขนมทุกชนิดที่ผสมกาแฟ มีคาเฟอีน ซึ่งกระตุ้น หัวใจ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ปริมาณกาแฟพบสูงในลูกอมรสกาแฟ รองลงไปคือลูกอมสอดไส้ชอกโกแลค คุกกี้รสกาแฟ เวเฟอร์ เค้ก ไอศกรีมรสกาแฟ ตามลำดับ เจลลี่ โดยเฉพาะที่ขนาดพอคำ บรรจุเป็นถ้วยเล็กๆ บีบเข้าปากได้เลย พบอุบัติเหตุ เด็กสำลัก ติดคอ และเสียชีวิต มีประกาศห้ามขายแล้ว น้ำอัดลม มีน้ำ น้ำตาล เจือสี แต่งกลิ่น รส และอัดแก๊ส มีฤทธิ์เป็นกรด กินแล้วจะมีลมในกระเพาะทำให้ท้องอืด กรดกัดกระเพาะ ทำให้ปวดท้อง เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในเด็กที่นำมาพบกุมารแพทย์ ไอติมแท่ง มักพบในเขตปริมณฑลกรุงเทพ และในต่างจังหวัด มักใส่สีสดใส และที่สำคัญกรรมวิธีการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากสีที่อันตรายต่อสุขภาพยังอาจปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ทำให้เกิดอาการท้อง เสียได้ เราควรบริโภค “ขนม” ที่มีคุณค่าในปริมาณมากน้อยขนาดไหน ขนมที่มีคุณค่าก็ให้พลังงาน จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรเป็นของว่าง เสริมระหว่างมื้อ 1-2 ครั้งต่อวัน จากอาหารหลัก 3 มื้อ ช่วงสาย และช่วงบ่าย ถ้าเป็น ผลไม้ ประมาณ 1ส่วนเสริฟ: กล้วยน้ำว้า 1ผลหรือ ส้ม1ผลหรือ มะละกอ5-6ชิ้นคำ ขนมไทยๆ: ขนมกล้วย ขนมฟักทอง1-2ชิ้น ข้าวต้มมัด1กลีบ ผู้ปกครองจะแนะนำบุตรหลานของตนอย่างไร เพื่อเด็กจะเลือกขนมที่มีประโยชน์ ปัจจุบันสื่อโฆษณาต่างๆ ด้านขนมเด็ก กำลังโหมกระหน่ำและมุ่งเป้าสู่เด็กทุกวัย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครอบครัว ผู้ปกครอง จึงควรให้ความสนใจ พินิจพิเคราะห์ ในการเลือกขนม หรือให้คำแนะนำในการเลือกขนมกับบุตรหลาน หลักที่ควรคำนึง คือ 3 ป. ปลอดภัย ประโยชน์ ประหยัด ปลอดภัย กินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย ดูลักษณะทั่วไป สะอาด ไม่มีสีฉูดฉาด บรรจุในภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด การดู ฉลากอาหาร เลขทะเบียน อย. วันผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และพลังงานที่ได้รับอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีสารปนเปื้อน จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่นเชื้อจุลินทรีย์ จะทำให้เกิดอาเจียน ท้องเสีย โลหะหนัก ผลต่อระบบประสาท ไต ประโยชน์ เด็กมักรับประทานขนม เพราะความอยาก อร่อย ควรสอนให้เด็กได้รู้จักเปรียบเทียบคุณค่าของขนมที่รับประทาน เช่นขนมไทย ผลไม้ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์มากกว่าในด้านการให้วิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และท้องไม่ผูก เมื่อเทียบกับขนมกรุบกรอบ ซึ่งจะได้รับพิษภัยจากเกลือ ผงชูรส และฟันผุ ประหยัด สอนให้เด็กรู้จักคิดก่อนซื้อ ว่าสิ่งที่ได้นั้นคุ้มค่ากับเงินที่จะจ่ายหรือไม่ เปรียบเทียบราคาในผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน สรุป เลือกผลไม้ แทนขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน เลือกอาหารไม่ใส่สี หรือ ใช้สีธรรมชาติ ดูบรรจุภัณฑ์และฉลากอาหารก่อนซื้อ ขนมที่บรรจุในภาชนะหรือซองที่ปิดสนิท ควรดูฉลากอาหาร มีเลขทะเบียน อย. วันผลิต วันหมดอายุ พลังงานที่ได้รับ พิจารณาราคา ลดการกินขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน ถ้ากินควรแปรงฟันหลังรับประทาน ฝึกวินัยให้เด็กรับประทานเป็นเวลา ไม่จุบจิบ พร่ำเพรื่อ ขนมที่มีประโยชน์ ได้แก่ ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง ถั่วแปบ กล้วยบวดชี ฟักทองแกงบวด
เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มักมีสาเหตุจาก การเลี้ยงดู เด็กรับประทานน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือรับประทานไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและ คุณค่า เนื่องจากความไม่รู้ หรือตามใจเด็ก ภาวะเจ็บป่วยของร่างกาย อาจมีโรคเรื้อรังหรือปัญหาของความพิการแต่กำเนิด ทำให้การเจริญเติบโตช้า เช่นโรคหัวใจ การพักผ่อน นอนหลับไม่เพียงพอ นอนดึก ในระยะแรก น้ำหนักจะต่ำกว่าเกณฑ์ ยังไม่มีผลต่อความสูง แต่ถ้าต่ำอยู่ระยะหนึ่งแล้วจะมีผลต่อความสูง เด็กจะไม่ค่อยสูงเท่าเด็กปรกติ ปัญหาเด็กตัวเล็กน้ำหนักน้อยมักเป็นที่กังวลของแม่ และพยายามหาวิธีต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกดีขึ้น เพราะนอกจากทางร่างกายจะเจริญเติบโตช้า ยังมีผลต่อการเรียนรู้ ความจำของสมอง การติดเชื้อง่าย เจ็บป่วยบ่อย เนื่องจากภูมิต้านทานไม่ดี วิธีที่ง่ายก็คือ คุณพ่อคุณแม่คงต้องพาน้องไปปรึกษาแพทย์ตรวจสุขภาพ เพื่อดูว่ามีปัญหาโรคทางกายหรือไม่ ถ้าดูแล้วผิดปกติไม่มาก เช่น เด็กดูสุขภาพดี ร่าเริงดี แต่มีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าปกติ คำถาม ที่ต้องตอบประการแรกคือ เด็กคนนี้เป็นเพียงเด็กปกติที่ผอมและตัวเล็ก เนื่องจากมีพันธุกรรมพ่อแม่ตัวเล็กหรือเด็กคนนี้มีความผิดปกติจริงๆ แพทย์จะช่วยบอกได้โดยใช้ส่วนสูงเฉลี่ยของพ่อแม่ แล้วเทียบกับตารางสำเร็จที่ทำไว้ว่า เด็กควรสูงเท่าไร ถ้าความสูงของเด็กเมื่อเทียบกับความสูงของพ่อแม่ไปด้วยกัน จะช่วยลดลดความวิตกกังวลของพ่อแม่ลงได้ แพทย์จะซักถามเรื่องการเลี้ยงดูอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน เด็กกินอาหารจุกจิกมากไหม เด็กที่จิบน้ำหวาน หรือกินขนมมาก ทำให้ไม่อยากอาหารเมื่อถึงมื้อจริงๆ อาจทำการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระเพื่อดูว่ามีพยาธิหรือไม่ ทดสอบวัณโรคหรือเอกซ์เรย์ปอดดูว่ามีวัณโรคหรือไม่ ถ้ามีโรคทางร่างกายก็ต้องรักษาควบคู่กันไปกับการรักษาภาวะขาดอาหาร ถามประวัติหรือจากการตรวจอุจจาระพบว่ามีพยาธิ ให้ยาถ่ายพยาธิในเบื้องต้นส่วนเด็กที่ไม่มีปัญหาของโรคที่จะมีผลกับสุขภาพ ก็ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูต่อไป คำแนะนำเรื่องอาหารในเด็กวัย 6-12 ปี ให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบด้วย ข้าว 2-3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว หรือไข่ 1 ฟอง ผัดผัก 1 ทัพพี ผลไม้ เช่น ส้ม 1 ผล (หรือ กล้วย 1 ผล หรือ มะละกอ 4-5 ชิ้นคำ หรือผลไม้อื่นๆ) นม 1 แก้ว ไข่ ถือ เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ในเด็กที่น้ำหนักน้อยรับประทานได้ทุกวันๆละ 1 ฟอง ปัญหาเด็กที่มีน้ำหนักน้อย แต่ละมื้อหากรับประทานได้น้อย อาจจะต้องแบ่งมื้อย่อย หากเด็กอยู่ในวัยซุกซนหรือห่วงเล่น อาจชวนมาให้มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารและให้ลองชิม ควรนั่งโต๊ะรับประทานพร้อมกับผู้ใหญ่ด้วยความสนุก และพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่าง พาเด็กไปออกกำลังกาย วิ่งเล่น เมื่อเด็กได้ใช้พลังงานก็จะทำให้หิว ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบ ลูกอมทอฟฟี่ หรือนม ก่อนมื้ออาหารเพราะเด็กจะอิ่มทำให้เด็กรับประทานอาหารได้น้อย การที่เด็กรับประทานน้อย จะได้สารอาหารไม่ครบ และอาจขาดวิตามิน เกลือแร่บางตัว ซึ่งส่งผลให้เด็กเบื่ออาหาร แพทย์จะเสริมยาบำรุงให้ในช่วงแรก เมื่อเด็กได้รับวิตามิน เกลือแร่ที่ขาด ก็จะมีอาการดีขึ้น อาการเบื่ออาหารก็จะลดลง ให้เด็กนอนแต่หัวค่ำ วัยเรียนเด็กควรได้นอนหลับพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง การนอนดึกจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ได้เต็มที่ เด็กจะเจริญเติบโตได้ดี ต้องการอาหารที่ดีและเพียงพอ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่นั่นเอง เท่านี้ก็จะแก้ปัญหาลูกได้แล้ว หากยังไม่ได้ผลควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง
เด็กไทยดูดี มีพลานามัย หมายถึง เด็กที่มีร่างกายแข็งแรง ฉลาด รูปร่างดี มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป บุคลิกภาพดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส ร่าเริง มีพัฒนาการที่ดีเป็นไปตามวัย มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของเด็กไทย คือ ประหยัด มีวินัย ใฝ่รู้ กล่าวคือมีการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รู้จักกิน ฉลาดซื้อ รู้คุณค่าของเงิน และรักการออกกำลังกาย คุณลักษณะของเด็กไทย ควรเป็นไปตามหลักพัฒนาการในแต่ละวัย ตามการเปลี่ยนแปลงตามสังคมโลกและทำให้สังคมโลกอยู่รอด จุดเด่นของสังคมไทยคือการมีไมตรีจิตซึ่งควรรักษาไว้ และแก้ไขจุดด้อยในด้านภาพลักษณ์ด้านลบ วัยประถม พัฒนาให้เด็ก รู้จัก ประหยัด มีวินัย ใฝ่รู้ การประหยัด เด็กประถมรู้จักเรื่องจำนวน การใช้เงิน ควรฝึกให้เด็ก รู้จักคุณค่าของเงิน ใช้จ่ายให้เหมาะสม คิดก่อนซื้อ และรู้จักเก็บออม ควรประมาณค่าขนมให้ลูกตามความจำเป็นไม่มากเกินไปเพราะเด็กจะไม่รู้จักคิด มีมากก็ใช้จ่ายมาก การมีวินัย ฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การมีตารางเวลาและความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา กินเป็นเวลาไม่จุบจิบ แบ่งเวลาในการเล่นออกกำลังกาย ดูทีวีหรือเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลา เข้านอนและตื่นเป็นเวลา รับผิดชอบทำการบ้าน ช่วยงานบ้านตามโอกาส ใฝ่รู้ สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวนอกหลักสูตร จากการได้ลงมือทำเอง ศึกษาจากธรรมชาติ ตามความถนัด เป็นรากฐานของการค้นพบตัวเองในอนาคต ถ้าพ่อแม่ทำงานนอกบ้าน เวลาในการดูแลลูกน้อยลง พ่อแม่ควรให้เวลากับลูก อย่างน้อยในแต่ละวันควรรับประทานอาหารด้วยกันสัก 1 มื้อโดยเฉพาะมื้อเย็น จะได้พูดคุยกันไถ่ถามความเป็นอยู่ทุกข์สุขหรือเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวันนี้ ซึ่งเราจะได้สังเกตดูลูกว่าอาจอยากได้คำแนะนำหรือคำชื่นชม การดูทีวีด้วยกันเพื่อช่วยให้ความคิดเห็นและสร้างให้เด็กมีวิจารณญาณ รู้ทันสื่อ และทำให้ทราบถึงคุณลักษณะของอาหารที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน เป็นต้น วัยรุ่น วัยที่เป็นตัวของตัวเอง วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ต้องการความอิสระ เพื่อนจะมีอิทธิพลสูง จะมีค่านิยมทางสังคม ทางเพศ วัยรุ่นควรได้รับการเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตที่ดีควรเป็นอย่างไร มีอุดมคติเพื่อตัวเองและบุคคลอื่น อาชีพสุจริต พึ่งตนเอง ไม่ฟุ่มเฟือย บริบทของครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม ชุมชนสังคม ความเข้าใจ ความอบอุ่นเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อวัยรุ่นอย่างมาก ดังนั้นการที่จะสร้างเสริมให้เด็กไทยดูดี มีพลานามัย จึงต้องบูรณาการหลายๆด้าน ทั้งที่ตัวเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และสิ่งแวดล้อม เอกสารอ้างอิง นพ.ยงยุทธ วงค์ภิรมย์ศานติ์. การบรรยายเรื่องคุณลักษณะของเด็กไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพ ในการอบรม ครูเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2547 ณ ห้องประชุม อาคาร 6 ชั้น 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล