Sign In
New Customer?

แนวทางในการแก้ไขโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน

ความต้องการพลังงานและสารอาหาร ขึ้นกับ

  1. อายุ ในช่วงประถมต้นอายุ 6 - 8 ปี ต้องการสารอาหารปริมาณน้อยกว่า ช่วงประถมปลายอายุ 9 - 12 ปี ซึ่งกำลังเข้าสู่วัยรุ่น ระยะนี้เจริญเติบโตเร็ว ต้องการอาหาร มากกว่าเด็กเล็ก
  2. เพศ นักเรียนชายต้องการปริมาณสารอาหารมากกว่าหญิง
  3. กิจกรรม ผู้ที่ใช้กำลังงานมากจะต้องการสารอาหารมากกว่า เช่น นักกีฬา
  4. สภาวะของร่างกาย ส่งผลต่อความต้องการพลังงานและสารอาหารที่ แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น ขณะเจ็บป่วยร่างกายต้องการอาหารเพิ่มมากกว่าปกติเพื่อ ซ่อมแซมและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ หรือในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตโดยเฉพาะช่วงเข้าสู่ วัยรุ่นก็มีความต้องการสารอาหารในปริมาณสูงมากกว่าภาวะปกติ

พลังงาน

ปริมาณพลังงานสำ หรับเด็กวัยเรียนแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอายุ 6 – 8 ปี และ 9 – 12 ปี จากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำ หรับคนไทย คือ

ตารางที่ 3.1 ความต้องการพลังงานในเด็กวัยเรียน

เด็ก อายุ 6-8 ปี อายุ 9-12 ปี
เพศชาย 1,400 กิโลแคลอรี่ 1,700 กิโลแคลอรี
เพศหญิง 1,400 กิโลแคลอรี่่ 1,600 กิโลแคลอรี่

 

โดยมีการกระจายตัวของพลังงานจากสารอาหารโปรตีนร้อยละ10-12 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 และไขมันร้อยละ 25-35 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน

ตารางที่ 3.2 อาหารสำ หรับเด็กวัยเรียน ควรได้รับใน 1 มื้อ

ชนิดอาหาร อายุ 6-8 ปี อายุ 9-12 ปี
ข้าว (ข้าวกล้อง) (ทัพพี) 2 2-3
เนื้อสัตว์สุก (ช้อนกินข้าว) 2 2-3
ผัก (ช้อนกินข้าว) 3-4 3-4
ผลไม้ (ส่วน)* 1 1
ไขมัน (ช้อนชา) 1-1.5 1.5-2

 

* หมายถึง ผลไม้แบบผล 1 ส่วน เท่ากับ ส้มผลกลาง 2 ผล หรือ กล้วยน้ำว้า 1 ผลและ ผลไม้แบบชิ้นคำ 1 ส่วน เท่ากับ 6 – 8 ชิ้นคำ เช่น สับปะรด 6 – 8 ชิ้นคำ

การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ต้องคำ นึงถึงภาวะที่ร่างกายเด็กยังต้องเจริญเติบโต ต่อไป เด็กที่อ้วนไม่มากอาจจะไม่ต้องลดน้ำ หนัก แต่รักษาน้ำ หนักไม่ให้เพิ่มขึ้น เมื่อเด็ก สูงขึ้น น้ำ หนักตามความสูงก็จะปกติได้ แต่ในรายที่อ้วนมากคงต้องควบคุมให้น้ำ หนักไม่ขึ้น และลดลงได้บ้างตามความเหมาะสม ทั้งนี้จะประสบความสำ เร็จได้ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องขึ้นกับ ความตั้งใจของเด็กเอง การได้รับคำแนะนำ ในการดูแลด้านอาหารอย่างถูกต้อง มีความรู้ ในการเลือกชนิดของอาหาร ความอดทนในการหักห้ามใจจากอาหารที่ชอบ ร่วมกับการ ออกกำลังกาย ความร่วมมือจากครอบครัว ผู้ปกครอง ครูโรงเรียน ตัวเด็กเอง ตลอดจน สังคมจึงจะประสบผลสำเร็จ

การประเมินภาวะสุขภาพเด็กอ้วน

  1. การประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก โดยการชั่งน้ำ หนักเทียบกับความสูงจะบอก ระดับของความอ้วนของเด็ก
  2. การวัดความดันโลหิตเพื่อประเมินผลแทรกซ้อนที่อาจพบปัญหาความดัน โลหิตสูง
  3. การเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังลักษณะเป็นปื้นดำ หนาและขรุขระคล้ายขี้ไคล ที่รอบคอ ด้านข้างและหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ จะเป็นสัญญาณเตือนภัย ที่บ่งบอกว่า ถ้ายังอ้วนต่อไปเด็กอาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
  4. ลักษณะขาโก่งผิดปกติ เนื่องจากรับน้ำ หนักตัวที่มาก
  5. ในเด็กที่อ้วนมากๆ และมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หายใจลำ บาก หรือมีภาวะ ทางเดินหายใจอุดกลั้นขณะหลับ ต้องส่งพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษา

การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก

  1. การให้ความรู้หรือโภชนศึกษา การสร้างความตระหนักรู้โดยให้ความรู้ ความเข้าใจว่าอ้วนเป็นโรคหรือปัญหา และมีผลตามมาด้วยหลายๆ โรค โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู และครอบครัวเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็ก
  2. การให้คำปรึกษาทางโภชนาการ ปริมาณอาหารที่เหมาะสม แนะนำ อาหารที่ควรและไม่ควรบริโภค การควบคุมอาหาร วิธีการปรุงอาหาร ปรับเปลี่ยนจากทอดซึ่งมีไขมันสูงมาเป็น ต้ม นึ่ง อบ แทนลดการเติม น้ำตาลในอาหาร
  3. การเพิ่มการออกกำลังกาย
  4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิต

การส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้

การสนับสนุนจากครอบครัวในการจัดอาหารจานผักและผลไม้ ตลอดจนการที่ พ่อแม่เป็นแบบอย่างนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม จากการศึกษา ของชุติมา ศิริกุลชยานนท์และคณะ ได้ดำ เนินการศึกษาการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ใน เด็กอนุบาลอายุ 4-5 ปี โรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร ก่อนดำ เนินการพบว่าเด็ก บริโภคผักน้อยมาก จากการสำ รวจในมื้อกลางวันในเด็กอนุบาล พบว่าค่ามัธยฐานของการ บริโภคผักเพียง 11 กรัม แสดงให้เห็นว่าการไม่ชอบบริโภคผักเริ่มมาตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็น ช่วงที่เด็กกำลังสร้างสุขนิสัยในการบริโภค การไม่ได้รับการฝึกมาตั้งแต่เล็กตามช่วงวัยของ พัฒนาการ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนวัยผู้ใหญ่ ทำ ให้เด็กปฏิเสธผัก ผู้วิจัยได้สร้างความ ตระหนักและดำ เนินกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องผัก ผลไม้ ด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย สนุก และเด็กได้ร่วมกิจกรรม โดยใช้สื่อต่างๆ ในกิจกรรมได้แก่ ให้เด็กดู การ์ตูนป๊อปอาย (Popeye) เล่านิทานหนูนิดกับฟักทอง ร้องเพลงผักผลไม้ เล่นเกม ทดลอง ให้เด็กปลูกผักแล้วนำ มาปรุงอาหาร ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียมล้างผัก ดูการหั่นและ ประกอบอาหารจานผักร่วมกับผู้วิจัย แล้วให้เด็กได้ลิ้มรส ประสบการณ์จริงที่เด็กได้จับต้อง สัมผัส ล้าง ชั่ง ตวง คน ตัก ชิมอาหารที่ปรุงจากผัก ทำ ให้เด็กชอบและกระตือรือร้น

คนที่ไม่ชอบผัก เมื่อนั่งรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ชอบผัก จะถูกชักชวนให้รับประทานผัก เด็กผู้ชายจะยึดป๊อปอายเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแข็งแรง ขณะที่เด็กผู้หญิงจะยึดหนูนิดเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแก้มแดง ผิวสวย นอกจากนี้แรงสนับสนุนทางสังคม คือ การที่คุณครูได้นั่งร่วมวงอาหารกับเด็ก เด็กก็จะสังเกตเห็นครูรับประทานผักก็จะทำตาม และที่น่าสนใจคือการจัดปาร์ตี้ผัก และผลไม้ หลากหลายชนิดให้เด็กได้เห็น สัมผัส บอกชื่อ สี และเล่นเกม สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นความสนใจในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ได้อย่างมาก อีกทั้งผู้วิจัยได้ส่งจดหมายถึงผู้ปกครอง เพื่อเป็นการสื่อสารถึงพัฒนาการของเด็กในการบริโภคผักที่โรงเรียน และขอความร่วมมือสนับสนุนการรับประทานผักที่บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ผู้ปกครองรายงานว่าเด็กมักคุยให้ฟังเรื่องผักต่างๆ มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจที่รับประทานผักในอาหารมื้อกลางวันที่โรงเรียนจากการพูดคุยกับเด็กได้รับทราบว่าทางบ้านได้มีการเตรียมผักในมื้ออาหารเพิ่มขึ้น หลังการศึกษาเด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ข้อแนะนำจากการศึกษานี้ หากเริ่มต้นปลูกฝังบริโภคนิสัยที่ดีตั้งแต่เล็กๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยใช้ประสบการณ์จริง สื่อการ์ตูน นิทาน แรงสนับสนุนจากเพื่อน แบบอย่างจากครู และผู้ปกครอง อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้บริโภคนิสัยที่ดีนี้ยั่งยืน เป็นการสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต

การฝึกวินัยในการบริโภคให้เด็ก 

วินัยในการบริโภคเป็นเวลา 3 มื้อ ไม่จุบจิบรู้จักเลือกชนิดของอาหาร ควรให้เด็กเข้าใจถึงเหตุผล จำ เป็นต้องกระทำ อย่างต่อเนื่องและสม่ำ เสมอค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงการข่มขู่ แต่ควรสนับสนุนให้กำ ลังใจ ยกย่องชมเชยเมื่อมีโอกาส การปลูกฝังการมีวินัยในตนเองให้แก่เด็กวัยเรียนนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาที่ต้องพยายามปลูกฝังความมีระเบียบวินัยให้เหมาะสมกับวัย โดยเริ่มแรกจากสถาบันครอบครัว เพราะบิดามารดามีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็กและคอยอบรมสั่งสอนให้เด็กมีพฤติกรรมความประพฤติที่ดีได้และนอกจากนี้แล้ว ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการเสริมสร้างวินัยให้เด็กเมื่ออยู่ในชั้นเรียน พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ควรร่วมมือกันและประสานแนวคิดระหว่างบ้านและโรงเรียน เวลาและวิธีการทางบวกเพื่อสร้างวินัย ท่านพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต)ได้กล่าวถึงวิธีสร้างวินัยในตนเอง ดังนี้ “การจะให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ยั่งยืนเคยชินย่อมมาจากจิตใจที่มีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำ พฤติกรรมนั้น เมื่อเกิดปัญญาเรียนรู้เกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการกระทำ นั้น จะเป็นวิธีสร้างวินัยความรับผิดชอบในตนเอง เป็นการจัดสรรโอกาส ทำ ให้ชีวิตและสังคมมีระเบียบเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์”

อาหารที่ไม่ควรให้เด็กบริโภค หรือควรหลีกเลี่ยง

1. น้ำอัดลม

ประกอบด้วย น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก สารให้รสหวาน ได้แก่ น้ำตาลทรายหรือน้ำ เชื่อมcorn syrup หรือ สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาร์แตม สารปรุงแต่ง เป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว แล้วอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงในน้ำ ในบางยี่ห้อเติม คาเฟอีน และ วัตถุกันเสีย 

คุณค่าทางโภชนาการ

มีพลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เด็ก ที่ดื่มบ่อยๆ และรับประทานอาหารได้มากโดยเฉพาะเด็กอ้วนก็จะอ้วนมากขึ้นตามลำดับ

พลังงานที่ให้ต่อ 1 หน่วยบริโภคของน้ำอัดลม

ขนาดบรรจุกระป๋อง ความจุ 325 มิลลิลิตร พลังงาน 140-250 กิโลแคลอรี ขึ้นกับ ปริมาณน้ำตาล (8.5-16 ช้อนชา) ซึ่งเกินจากข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก

ผลของน้ำอัดลมต่อสุขภาพ

  • อ้วน ความหวานจากน้ำตาลถ้าดื่มมากและบ่อย สะสมพลังงานทำ ให้อ้วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จะต้องวิ่ง เป็นเวลา 15-20 นาทีจึงจะใช้พลังงานหมด
  • ปวดท้อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดลงในน้ำอัดลม จะละลายน้ำกลายเป็น กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำ ให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นโรคกระเพาะเกิด อาการปวดท้อง ก๊าซในน้ำอัดลมทำ ให้ท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้อง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง
  • ฟันผุ เกิดจากกรดในน้ำอัดลมทำลายสารเคลือบฟัน และความหวานที่เป็น อาหารของเชื้อแบคทีเรีย
  • กระตุ้นหัวใจและระบบประสาท คาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลกระตุ้นหัวใจ ทำ ให้ใจสั่น มือสั่น นอนไม่หลับ
  • กระดูกพรุน คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำ ให้ มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลมทำ ให้ระดับแคลเซียม ในร่างกายต่ำลง การดื่มน้ำอัดลมทำ ให้โอกาสของการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดลง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกเปราะ กระดูกผุกร่อนได้ง่าย
  • ขาดสารอาหาร เด็กเล็กๆ ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากๆ ในเวลาที่ใกล้จะถึงมื้ออาหาร มื้อหลักหรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำ ให้อิ่มและรับประทานอาหารมื้อหลักได้ น้อยได้ สารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการอาจขาดสารอาหารได้

2. ขนมกรุบกรอบ

มักมีส่วนผสมของแป้ง น้ำ ตาล ไขมัน และ เกลือ ตลอดจนผงชูรส แต่มีสารอาหารที่จำ เป็นต่อร่างกายต่ำ การบริโภคขนมกรุบกรอบบ่อยๆ ทำ ให้เด็กได้รับพลังงานสูงทั้งหวาน มัน และเค็ม จากการที่ได้รับเกลือในปริมาณสูงทำ ให้เด็กไทยติดรสหวานมันและรสเค็ม มีผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากอ้วน ไขมันในเลือดสูง ฟันผุและเกิดการสะสมเกลือในร่างกาย ทำ ให้ไตทำ งานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต

3. อาหารทอด

การบริโภคอาหารทอดบ่อยๆ นอกจากได้รับไขมันสูงทำ ให้อ้วนแล้วน้ำ มันที่ทอด นานๆ และซ้ำ ๆ มักมีสีคล้ำและมีสารก่อมะเร็ง จากการศึกษาพบว่ามีกลุ่มสารก่อมะเร็ง เกิดขึ้นในน้ำ มันทอดซ้ำ ได้แก่ การทอดอาหารแบบน้ำ มันท่วมที่อุณหภูมิสูงมีผลให้น้ำ มัน เสื่อมสภาพได้เร็ว พบสารก่อมะเร็งทั้งในไอระเหยและในน้ำ มันทอดอาหารซ้ำ การศึกษา ทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่สูดไอระเหยน้ำ มันเข้าสู่ปอดเป็นประจำ มีความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งปอด การบริโภคอาหารทอดที่ใช้น้ำ มันทอดอาหารซ้ำ หลายครั้งจึงมีความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งในระยะยาว

4. ไส้กรอก

ไส้กรอกเป็นอาหารแปรรูป กระบวนการทำ นำ เนื้อหมูบดกับมันหมู สัดส่วนไขมัน 40-50 % จึงมีไขมันสูง เติมสารกันบูด สี ดินประสิวเพื่อให้เนื้อนุ่ม ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดินประสิวถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยจะสลายเกิดสารก่อมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศอาหารแปรรูปประเภท ไส้กรอก เบคอน ซาลามี กุนเชียง หมูยอ จัดอยู่ในกลุ่ม 1 สารก่อมะเร็งในมนุษย์ระดับเดียวกับบุหรี

5. อาหารที่มีไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ เกิดจากการแปรรูปไขมันไม่อิ่มตัวให้เป็นไขมันอิ่มตัวโดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อให้แข็งขึ้น รสชาติดี เหม็นหืนช้าและเก็บได้นาน ได้แก่ เนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening)

ผลิตภัณฑ์ที่มีเนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ หรือทอดด้วยเนยเทียม ได้แก่ เบเกอรี โดนัท ครัวซอง เค๊ก คุกกี้ ขนมกรุบกรอบ ขนมปังอบกรอบต่างๆ ข้าวโพดคั่ว อาหารฟาสต์ฟูดที่ทอดด้วยเนยเทียม เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอดฯลฯ

ผลของไขมันทรานส์ เพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-C) และลดไขมันตัวดี ( HDL-C) ทำ ให้ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

6. นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม

นมเปรี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำ นมมาหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำ ให้เกิดโรค จุลินทรีย์จะเพิ่มจำ นวนมากขึ้นและทำ ปฏิกิริยากับน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติ ในน้ำ นม เกิดกรดแล็กทิกที่มีรสเปรี้ยว ได้นมที่มีลักษณะเป็นครีมข้นๆ เรียกว่า โยเกิร์ตชนิด รสธรรมชาติ แต่ในบ้านเรา นิยมเติมน้ำตาล น้ำ เชื่อม ผลไม้เชื่อมต่างๆ ลงไปหรือทำ ให้เหลว โดยเติมน้ำ แล้วเติมน้ำตาล และแต่งรสผลไม้ เป็นนมเปรี้ยวชนิดดื่ม ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมกัน มาก ส่วนใหญ่มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงร้อยละ 35-50 และน้ำตาลสูงถึงร้อยละ 8-20 ซึ่ง สูงกว่านมสดทั่วๆ ไป แต่มีโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่นเพียงครึ่งเดียวของนมสด ปริมาณน้ำตาลสูงใกล้เคียงกับน้ำอัดลม ดื่มนมเปรี้ยว 1 กล่อง (180 มล.) จึงได้น้ำตาล 3 ช้อนชา บางยี่ห้อมีน้ำตาลสูงถึง 7 ช้อนชา ในขณะที่คำแนะนำจากนักวิชาการไม่ควร บริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา การดื่มนมเปรี้ยวมาก ๆ จึงทำ ให้อ้วนและได้รับโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่น น้อยกว่าการดื่มนมสดรสจืด

เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.