พ่อแม่มีหน้าที่จัดหาอาหารที่เหมาะสมให้กับลูก เพื่อการได้รับประทานอาหารที่ เพียงพอทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนเป็นต้นแบบที่ดีในการมีพฤติกรรมการบริโภค ที่เหมาะสม และสอนให้ลูกรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังได้กล่าวแล้วว่า วัยเรียนเป็นวัยของหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาบุคลิกภาพ พ่อแม่จึงควรปลูกฝังการมี วินัยและบริโภคนิสัยที่ดีให้กับเด็ก ดังต่อไปน
- ครอบครัวควรกำหนดให้มีมื้ออาหารของครอบครัวอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 1 มื้อต่อวัน ซึ่งมีผลดีต่อครอบครัวที่จะได้มีโอกาสรับประทานอาหารด้วยกัน ได้สนทนาพูดคุยรู้ทุกข์สุขที่เกิดขึ้นกับลูกในแต่ละวันระหว่างรับประทานอาหาร อีกทั้งพ่อแม่จะมีโอกาสช่วยพัฒนาเจตนคติที่ดีต่ออาหาร และมั่นใจได้ว่าลูกได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพียงพอทดแทนกับอาหารที่ลูกได้รับจากนอกบ้านซึ่งอาจไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันก็จะได้รู้ว่าอาหารชนิดใดที่ลูกชอบและอาหารชนิดใดที่ลูกไม่ชอบ นอกจากนี้การได้เห็นพฤติกรรมการบริโภคที่ดีระหว่างรับประทานอาหารด้วยกัน จะทำ ให้เด็กซึมซับพฤติกรรมที่ดีเหล่านั้นจากพ่อแม่อย่างต่อเนื่องและมีบริโภคนิสัยที่ดีตั้งแต่วัยเด็กสืบเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่
- การกำหนดเวลามื้ออาหารที่แน่นอนอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กมีวินัยในการบริโภคเป็นเวลา 3 มื้อ ไม่จุบจิบ ถ้าไม่มีการกำ หนดเวลามื้ออาหารที่แน่นอน เด็กมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารว่างมากกว่าและมักจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง
- การวางแผนเมนูและรายการอาหารล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ให้ได้ชนิดอาหารที่หลากหลาย จะช่วยให้เด็กได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า
- เว้นช่วงว่างระหว่างอาหารว่างกับอาหารมื้อหลักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง อาหารว่างเพียง 1-2 มื้อต่อวันก็เพียงพอสำ หรับเด็ก
- สร้างบรรยากาศที่ดีในขณะรับประทานอาหารด้วยกัน ควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือว่ากล่าวในมื้ออาหาร
- พ่อแม่ไม่ควรเข้มงวดหรือใช้วิธีบังคับเด็กมากเกินไป การที่พ่อแม่ที่บังคับควบคุมการบริโภคของเด็กมากเกินไป จะส่งผลในทางลบกับการบริโภคของเด็ก เกิดความเครียด เด็กจะแอบรับประทานทุกอย่างที่ห้ามและนำ ไปสู่โรคอ้วน
- พ่อแม่ควรมีการชี้แนะประโยชน์และโทษ ของการบริโภคอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพกับเด็กให้เข้าใจ การจะเสริมสร้างวินัย สุขนิสัยและพฤติกรรมการบริโภคที่ดีของเด็กวัยเรียน ควรค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเด็กได้ปฏิบัติเองและเห็นผลดีที่เกิดขึ้น เด็กจะเรียนรู้และปฏิบัติได้ต่อเนื่องจนเป็นนิสัยนับเป็นการสร้างวินัย
ควรฝึกวินัยการบริโภคอย่างเหมาะสมเช่นเดียวกับเด็กวัยก่อนเรียน
- ให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน
- ให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เป็นประจำ ทุกวัน
- เสริมนมรสจืด วันละ 2 แก้ว
- ฝึกให้บริโภคผักผลไม้จนเป็นนิสัย
- ให้อาหารว่างที่มีคุณภาพ
สรุป
เด็กวัยเรียน เป็นเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการ สม่ำ เสมออย่างต่อเนื่อง เป็นวัยของหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาบุคลิกภาพจึงควร ปลูกฝังและพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคมแก่เด็ก การมีวินัย บริโภคนิสัย อาหารว่างมีส่วน สำคัญช่วยเติมเต็มให้เด็กได้รับพลังงานเพียงพอ จึงควรเป็นอาหารที่เหมาะกับสุขภาพ พ่อแม่และครูควรเป็นต้นแบบที่ดีในการมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ปัญหาใหญ่ใน ปัจจุบันคือเด็กวัยเรียนไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ แต่ชอบรับประทานอาหารที่พลังงาน และไขมันสูง จนนำ ไปสู่ปัญหาโรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง ปัจจัยเหตุของปัญหามักเกี่ยว เนื่องกับปัจจัยต่างๆ คือ สิ่งแวดล้อมในครอบครัว ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สังคมเพื่อ การจัดบริการอาหารในโรงเรียน และขาดการออกกำลังกาย การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนและ ไขมันในเลือดสูง ตลอดจนการบริโภคผัก ผลไม้ จึงควรแก้ที่ปัจจัยเหตุตามบริบทของชุมชน
เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.