การสนับสนุนจากครอบครัวในการจัดอาหารจานผักและผลไม้ ตลอดจนการที่พ่อแม่เป็นแบบอย่างนับเป็นสิ่งสําคัญที่จะเป็นทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม จากการศึกษาของชุติมา ศิริกุลชยานนท์และคณะ ได้ดํา เนินการศึกษาการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ในเด็กอนุบาลอายุ4-5 ปีโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานครก่อนดํา เนินการพบว่าเด็กบริโภคผักน้อยมาก จากการสํา รวจในมื้อกลางวันในเด็กอนุบาล พบว่าค่ามัธยฐานของการบริโภคผักเพียง 11 กรัม แสดงให้เห็นว่าการไม่ชอบบริโภคผักเริ่มมาตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกําลังสร้างสุขนิสัยในการบริโภค การไม่ได้รับการฝึกมาตั้งแต่เล็กตามช่วงวัยของพัฒนาการ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนวัยผู้ใหญ่ ทํา ให้เด็กปฏิเสธผัก ผู้วิจัยได้สร้างความตระหนักและดํา เนินกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องผัก ผลไม้ด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย สนุก และเด็กได้ร่วมกิจกรรม โดยใช้สื่อต่างๆ ในกิจกรรมได้แก่ ให้เด็กดูการ์ตูนป๊อปอาย (Popeye) เล่านิทานหนูนิดกับฟักทอง ร้องเพลงผักผลไม้เล่นเกม ทดลองให้เด็กปลูกผักแล้วนํา มาปรุงอาหาร ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียมล้างผักดูการหั่นและประกอบอาหารจานผักร่วมกับผู้วิจัย แล้วให้เด็กได้ลิ้มรส ประสบการณ์จริงที่เด็กได้จับต้องสัมผัส ล้าง ชั่ง ตวง คน ตัก ชิมอาหารที่ปรุงจากผัก ทํา ให้เด็กชอบและกระตือรือร้น
คนที่ไม่ชอบผัก เมื่อนั่งรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ชอบผัก จะถูกชักชวนให้รับประทานผัก เด็กผู้ชายจะยึดป๊อปอายเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแข็งแรง ขณะที่เด็กผู้หญิงจะยึดหนูนิดเป็นสัญลักษณ์รับประทานผักแล้วแก้มแดง ผิวสวย นอกจากนี้แรงสนับสนุนทางสังคม คือ การที่คุณครูได้นั่งร่วมวงอาหารกับเด็ก เด็กก็จะสังเกตเห็นครูรับประทานผักก็จะทําตาม และที่น่าสนใจคือการจัดปาร์ตี้ผัก และผลไม้ หลากหลายชนิดให้เด็กได้เห็น สัมผัส บอกชื่อ สี และเล่นเกม สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นความสนใจในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ได้อย่างมาก อีกทั้งผู้วิจัยได้ส่งจดหมายถึงผู้ปกครอง เพื่อเป็นการสื่อสารถึงพัฒนาการของเด็กในการบริโภคผักที่โรงเรียน และขอความร่วมมือสนับสนุนการรับประทานผักที่บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ผู้ปกครองรายงานว่าเด็กมักคุยให้ฟังเรื่องผักต่างๆ มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจที่รับประทานผักในอาหารมื้อกลางวันที่โรงเรียนจากการพูดคุยกับเด็กได้รับทราบว่าทางบ้านได้มีการเตรียมผักในมื้ออาหารเพิ่มขึ้น หลังการศึกษาเด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ข้อแนะนําจากการศึกษานี้ หากเริ่มต้นปลูกฝังบริโภคนิสัยที่ดีตั้งแต่เล็กๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยใช้ประสบการณ์จริง สื่อการ์ตูน นิทาน แรงสนับสนุนจากเพื่อน แบบอย่างจากครู และผู้ปกครอง อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้บริโภคนิสัยที่ดีนี้ยั่งยืน เป็นการสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต