1. ส่วนประกอบของน้ำอัดลม
1.1 น้ำ เป็นส่วนประกอบหลักของน้ำอัดลม เป็นน้ำที่สะอาด อาจจะใช้น้ำประปา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน
1.2 สารให้รสหวาน สารให้รสหวาน คือ น้ำตาลทราย นำมาผสมน้ำ แล้วต้มทำเป็นน้ำเชื่อมและกรอง ปัจจุบันมีการใช้สารให้ความหวานตัวอื่น เพิ่มมา เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn syrup) สารทดแทนความหวานเช่นแอสปาเทม
1.3 สารปรุงแต่ง ที่เรียกกันว่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งจะเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว หัวน้ำเชื้อจะนำมาผสมในน้ำเชื่อม
1.4 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะนำมาอัดลงในน้ำหวานที่ผสมไว้
1.5 คาเฟอีน ในบางยี่ห้อ
1.6 วัตถุกันเสีย
2. ชนิดของน้ำอัดลม
น้ำอัดลมบรรจุขวดหรือกระป๋องที่มีจำหน่ายกันทั่วไปนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ตามลักษณะเฉพาะของกลิ่นรสและสีของผลิตภัณฑ์
2.1 น้ำอัดลมรสโคล่า หรือน้ำดำ น้ำอัดลมประเภทนี้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อโคล่าซึ่งมีคาเฟอีนที่สกัดจากส่วน ใบของต้นโคคาอยู่ด้วยปริมาณของคาเฟอีนในน้ำอัดลมชนิดโคล่าแต่ละยี่ห้อก็จะ แตกต่างกันไปแล้วแต่สูตรลับเฉพาะของแต่ละบริษัท สำหรับสีน้ำตาลเข้มที่เป็นที่มาของสีน้ำดำนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากสีผสมอาหารที่เป็นสีของน้ำตาลเคี่ยวไหม้ ในปัจจุบันมีการใช้สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาเทม แบบนี้จะเรียกกันว่าน้ำอัดลมประเภทไดเอ็ท คนอ้วนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักมักจะซื้อ แบบหลังนี้มาดื่ม
2.2 น้ำอัดลมไม่ใช่โคล่า ได้แก่น้ำอัดลมสีขาวใสที่ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อเลมอน-ไลม์ น้ำอัดลมที่ปรุงแต่งกลุ่นรสเลียนแบบน้ำผลไม้ เช่น ส้ม องุ่น มะนาว ลิ้นจี่ น้ำหวานอัดลม พวกน้ำเขียว น้ำแดง และน้ำอัดลมที่สีเหมือนโคล่าแต่ไม่ใช่ คือ รู้ทเบียร์ เป็นต้น น้ำอัดลมเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากไม่ได้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อชนิดโคล่า อย่างไรก็ตามอาจมีการเติมคาเฟอีนสกัดเล็กน้อยในส่วนผสม เพื่อให้ได้ฤทธิ์กระตุ้นของคาเฟอีน ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปล่าเมื่อดื่ม ตามแต่สูตรของผู้ผลิตซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศด้วย
3. คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำอัดลมอยู่ที่น้ำตาลซึ่งร่างกายสามารถนำ ไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่จุดอ่อนของน้ำอัดลมอยู่ที่ผู้ดื่มได้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เรียกว่าพลังงานที่ว่างเปล่า หรือ Empty calories ดังนั้นถ้าดื่มน้ำอัดลมมากและรับประทานอาหารอื่นน้อย ก็อาจขาดสารอาหาร โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ความหวานทำให้อิ่มและกินอาหารมื้อหลักได้น้อยลง
4. พลังงานที่ให้ต่อ 1 หน่วยบริโภคของน้ำอัดลม
- บรรจุกระป๋อง ความจุ 325 มิลลิลิตร พลังงาน140 -250 กิโลแคลอรี ขึ้นกับปริมาณน้ำตาล ที่เติมในแต่ละยี่ห้อ
ส่วนประกอบน้ำอัดลมยี่ห้อต่าง ๆ
เครื่องดื่มโค้ก | 1 | กระป๋อง (325 มล.) |
พลังงานทั้งหมด | 140 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณน้ำตาล | 32.5 | กรัม (10%) |
ปริมาณ โซเดียม | 20 | มิลลิกรัม |
แต่งรสและเจือสีธรรมชาติ |
มิรินด้า กลิ่นส้ม | 1 | กระป๋อง (325 มล.) |
พลังงานทั้งหมด | 160 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณน้ำตาล | 41.6 | กรัม (12.8 % ) |
แต่งกลิ่นธรรมชาติ เจือสีสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย |
มิรินด้า กลิ่นมะนาว | 1 | กระป๋อง (325 มล.) |
พลังงานทั้งหมด | 145 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณน้ำตาล | 36.4 | กรัม (11.2% ) |
แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ เจือสีธรรมชาติและสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย |
มิรินด้า กลิ่นครีมโซดา | 1 | กระป๋อง (325 มล.) |
พลังงานทั้งหมด | 250 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณน้ำตาล | 64.7 | กรัม (19.9 % ) |
แต่งกลิ่นและเจือสีสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย |
มิรินด้า กลิ่นสตอเบอรี่ ปริมาตร | 325 | มล. |
พลังงานทั้งหมด | 250 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณน้ำตาล | 64.7 | กรัม (19.9 % ) |
แต่งกลิ่นและเจือสีสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย |
มิรินด้า กลิ่นองุ่น ปริมาตร | 325 | มล. |
พลังงานทั้งหมด | 160 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณน้ำตาล | 39.6 | กรัม (12.2 % ) |
แต่งกลิ่นธรรมชาติและสังเคราะห์ เจือสีธรรมชาติและสังเคราะห์ ใช้วัตถุกันเสีย |
แฟนต้า รสสตรอเบอรี | 1 | กระป๋อง (325 ml) |
พลังงานทั้งหมด | 190 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณคาร์โบไฮเดรต | 48 | กรัม |
ปริมาณน้ำตาล | 41 | กรัม (14%) |
ปริมาณ โซเดียม | 5 | มิลลิกรัม |
แฟนต้า น้ำเขียว | 1 | กระป๋อง (325 ml) |
พลังงานทั้งหมด | 200 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณคาร์โบไฮเดรต | 49 | กรัม |
ปริมาณน้ำตาล | 39 | กรัม (14%) |
ปริมาณ โซเดียม | 5 | มิลลิกรัม |
สไปรท์ | 1 | กระป๋อง (325 ml) |
พลังงานทั้งหมด | 200 | กิโลแคลอรี |
ปริมาณคาร์โบไฮเดรต | 49 | กรัม |
ปริมาณน้ำตาล | 41 | กรัม (14%) |
ปริมาณ โซเดียม | 20 | มิลลิกรัม |
5.ผลของน้ำอัดลมต่อสุขภาพ
1.อ้วน ความหวาน จาก น้ำตาลถ้าดื่มมากและบ่อย สะสมพลังงาน ทำให้อ้วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จะต้องวิ่ง เป็นเวลา 15-20 นาทีจึงจะใช้พลังงานหมด
2.ฟันผุ เกิดจากกรดในน้ำอัดลมทำลายสารเคลือบฟัน และความหวานที่เป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ
3.ปวดท้อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อัดในน้ำอัดลมจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรด จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นโรคกระเพาะเกิดอาการปวดท้อง แก๊สในน้ำอัดลมทำให้ท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้อง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง
4. กระตุ้นหัวใจและ ระบบประสาท ผลจากคาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลกระตุ้นหัวใจทำให้ใจสั่น มือสั่น นอนไม่หลับ
5.กระดูกพรุน คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลม ทำให้ระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำลง การดื่มน้ำอัดลมทำให้โอกาสชองการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ลดลง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกเปราะ กระดูกผุกร่อนได้ง่าย
6.ขาดสารอาหารเด็กเล็กๆ ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากๆ ในเวลาที่ใกล้จะถึงมื้ออาหารมื้อหลัก หรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและรับประทานอาหารมื้อหลักได้น้อย ได้สารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ อาจขาดสารอาหารได้
พิจารณาดูแล้วนอกจากรสชาติที่หลายคนชื่นชอบ ผลกระทบทางลบต่อสุขภาพดูจะเป็นข้อควรสอนให้เด็กๆและผู้ปกครองได้รับรู้ และเป็นตัวแบบในการไม่สนับสนุนในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพต่อลูกๆ ของเรา
เอกสารอ้างอิง
1.www.geocities.com/Heartland/4269/nutrition.html( Accessed 1/8/2006).
2.7xpub.com/coke/7xobj.html ( Accessed 3/8/2006)
3.www.cspinet.org/liquidcandy ( Accessed 6/8/2006)