1. น้ำอัดลม
ประกอบด้วย น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก สารให้รสหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย หรือน้ำเชื่อม corn syrup หรือ สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาร์แตม สารปรุงแต่ง เป็น ส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว แล้วอัด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงในน้ำ ในบางยี่ห้อเติม คาเฟอีน และ วัตถุกันเสีย
คุณค่าทางโภชนาการ
มีพลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เด็ก ที่ดื่มบ่อยๆ และรับประทานอาหารได้มากโดยเฉพาะเด็กอ้วนก็จะอ้วนมากขึ้นตามลำดับ
พลังงานที่ให้ต่อ 1 หน่วยบริโภคของน้ำอัดลม
ขนาดบรรจุกระป๋อง ความจุ 325 มิลลิลิตร พลังงาน 140-250 กิโลแคลอรี ขึ้นกับ ปริมาณน้ำตาล (8.5-16 ช้อนชา) ซึ่งเกินจากข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก
ผลของน้ำอัดลมต่อสุขภาพ
- อ้วน ความหวานจากน้ำตาลถ้าดื่มมากและบ่อย สะสมพลังงานทำให้อ้วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จะต้องวิ่ง เป็นเวลา 15-20 นาทีจึงจะใช้พลังงานหมด
- ปวดท้อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดลงในน้ำอัดลม จะละลายน้ำกลายเป็น กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นโรคกระเพาะเกิด อาการปวดท้อง ก๊าซในน้ำอัดลมทำให้ท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้อง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง
- ฟันผุ เกิดจากกรดในน้ำอัดลมทำลายสารเคลือบฟัน และความหวานที่เป็น อาหารของเชื้อแบคทีเรีย
- กระตุ้นหัวใจและระบบประสาท คาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลกระตุ้นหัวใจ ทำให้ใจสั่น มือสั่น นอนไม่หลับ
- กระดูกพรุน คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้ มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลมทำให้ระดับแคลเซียม ในร่างกายต่ำลง การดื่มน้ำอัดลมทำให้โอกาสของการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดลง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกเปราะ กระดูกผุกร่อนได้ง่าย
- ขาดสารอาหาร เด็กเล็กๆ ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากๆ ในเวลาที่ใกล้จะถึงมื้ออาหาร มื้อหลักหรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและรับประทานอาหารมื้อหลักได้ น้อยได้ สารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการอาจขาดสารอาหารได
2. ขนมกรุบกรอบ
มักมีส่วนผสมของแป้ง น้ำ ตาล ไขมัน และ เกลือ ตลอดจนผงชูรส แต่มีสารอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกายต่ำ การบริโภคขนมกรุบกรอบบ่อยๆ ทำให้เด็กได้รับพลังงานสูง ทั้งหวาน มัน และเค็ม จากการที่ได้รับเกลือในปริมาณสูงทำให้เด็กไทยติดรสหวาน มันและรสเค็ม มีผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากอ้วน ไขมันในเลือดสูง ฟันผุและเกิดการสะสม เกลือในร่างกาย ทำให้ไตทำงานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต
3. อาหารทอด
การบริโภคอาหารทอดบ่อยๆ นอกจากได้รับไขมันสูงทำให้อ้วนแล้วน้ำ มันที่ทอด นานๆ และซ้ำ ๆ มักมีสีคล้ำและมีสารก่อมะเร็ง จากการศึกษาพบว่ามีกลุ่มสารก่อมะเร็ง เกิดขึ้นในน้ำมันทอดซ้ำ ได้แก่ การทอดอาหารแบบน้ำมันท่วมที่อุณหภูมิสูงมีผลให้น้ำมัน เสื่อมสภาพได้เร็ว พบสารก่อมะเร็งทั้งในไอระเหยและในน้ำมันทอดอาหารซ้ำการศึกษา ทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่สูดไอระเหยน้ำมันเข้าสู่ปอดเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งปอด การบริโภคอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำหลายครั้งจึงมีความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งในระยะยาว
4. ไส้กรอก
ไส้กรอกเป็นอาหารแปรรูป กระบวนการทำนำเนื้อหมูบดกับมันหมู สัดส่วนไขมัน 40-50 % จึงมีไขมันสูง เติมสารกันบูด สี ดินประสิวเพื่อให้เนื้อนุ่ม ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดินประสิวถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยจะสลายเกิดสารก่อมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศอาหารแปรรูปประเภท ไส้กรอก เบคอน ซาลามี กุนเชียง หมูยอ จัดอยู่ในกลุ่ม 1 สารก่อมะเร็งในมนุษย์ระดับเดียวกับบุหรี่
5. อาหารที่มีไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์ เกิดจากการแปรรูปไขมันไม่อิ่มตัวให้เป็นไขมันอิ่มตัวโดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อให้แข็งขึ้น รสชาติดี เหม็นหืนช้าและเก็บได้นาน ได้แก่ เนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening)
ผลิตภัณฑ์ที่มีเนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ หรือทอดด้วยเนยเทียม ได้แก่ เบเกอรี โดนัท ครัวซอง เค๊ก คุกกี้ ขนมกรุบกรอบ ขนมปังอบกรอบต่างๆ ข้าวโพดคั่ว อาหารฟาสต์ฟูดที่ทอดด้วยเนยเทียม เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอดฯลฯ
ผลของไขมันทรานส์ เพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-C) และลดไขมันตัวดี ( HDL-C) ทำให้ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
6. นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม
นมเปรี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนมมาหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค จุลินทรีย์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำปฏิกิริยากับน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติ ในน้ำนม เกิดกรดแล็กทิกที่มีรสเปรี้ยว ได้นมที่มีลักษณะเป็นครีมข้นๆ เรียกว่า โยเกิร์ตชนิด รสธรรมชาติ แต่ในบ้านเรา นิยมเติมน้ำตาล น้ำเชื่อม ผลไม้เชื่อมต่างๆ ลงไปหรือทำให้เหลว โดยเติมน้ำ แล้วเติมน้ำตาล และแต่งรสผลไม้ เป็นนมเปรี้ยวชนิดดื่ม ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมกัน มาก ส่วนใหญ่มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงร้อยละ 35-50 และน้ำตาลสูงถึงร้อยละ 8-20 ซึ่ง สูงกว่านมสดทั่วๆ ไป แต่มีโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่นเพียงครึ่งเดียวของนมสด ปริมาณน้ำตาลสูงใกล้เคียงกับน้ำอัดลม ดื่มนมเปรี้ยว 1 กล่อง (180 มล.) จึงได้น้ำตาล 3 ช้อนชา บางยี่ห้อมีน้ำตาลสูงถึง 7 ช้อนชา ในขณะที่คำแนะนำจากนักวิชาการไม่ควร บริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา การดื่มนมเปรี้ยวมาก ๆ จึงทำให้อ้วนและได้รับโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุอื่น น้อยกว่าการดื่มนมสดรสจืด
เด็กไม่ควรได้รับน้ำ ตาลเกิน 4 ช้อนชา/วัน
เอกสารอ้างอิง:
ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด;