Sign In
New Customer?

สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน

สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน

ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมในแต่ละครอบครัว ส่งผลต่อวิถีการดำ เนินชีวิต พฤติกรรม การบริโภค การออกกำลังกาย ตลอดจนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ในการทำ ให้เกิดโรคอ้วนในเด็ก เป็นได้ทั้งปัจจัยเหตุ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่นำ ไปสู่ โรคอ้วน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมจะสามารถแก้ไขและป้องกัน โรคอ้วนได้

อายุ

การเกิดโรคอ้วนแปรตามอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสเกิดมากขึ้น การเกิดโรคอ้วนในวัยทารกจะส่งผลให้อ้วนในวัยก่อนเรียน วัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ตามลำดับการเกิดโรคอ้วนในวัยเด็กจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนสูงขึ้นแปรตามอายุที่เด็กเริ่มอ้วน อ้วนในเด็กวัยเรียนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่มากกว่าอ้วนในเด็กวัยก่อนเรียน หรือเด็กวัยรุ่นที่อ้วน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่มากกว่าอ้วนในเด็กวัยเรียนตามลำดับ

เพศ

การศึกษาในหลายประเทศรายงานการเกิดโรคอ้วนในเพศชายและหญิงแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากเชื้อชาติ วัฒนธรรม สีผิว ภาวะทางเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมการเลือกชนิดอาหาร ความสนใจด้านอาหาร ความพึงพอใจในรูปร่างและปัจจัยทางกายวิภาคและสรีรวิทยาในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาในเด็กวัยเรียนในโครงการเด็กไทยดูดีฯ ในกรุงเทพมหานคร และรายงานจากการศึกษาอื่นๆ พบว่าเด็กผู้ชายอ้วนมากกว่าเด็กผู้หญิงทำ นองเดียวกับประเทศจีน ไต้หวัน ศรีลังกา และประเทศเยอรมัน

วิถีการดำเนินชีวิต (life style)

การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันล้วนส่งผลต่อภาวะสุขภาพ นับตั้งแต่พฤติกรรมการบริโภค การนอนหลับพักผ่อน การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดฯลฯ

การเกิดโรคอ้วน

  1. กินมาก : อาหารพลังงานสูง ผัก ผลไม้น้อย
  2. ออกกำลังกายน้อย

พฤติกรรมการบริโภค

  1. กินมากเกินไป เด็กวัยเรียนได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง ไขมันสูง น้ำตาลสูงมากเกินไป จากอาหารจานด่วน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตกเป็นผลเนื่องมาจาก สะดวก หาซื้อง่าย สามารถโทรศัพท์สั่งบริการส่งถึงบ้าน ราคาไม่แพงมาก การโฆษณาทางทีวี รสชาติอร่อย และขนาดเสริฟ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ได้รับพลังงานที่มากเกินต้องการทั้งอาหารและเครื่องดื่มเกิดพลังงานสะสมและโรคอ้วน
  2. กินจุบจิบ ครอบครัวตามใจเด็กและไม่ได้ฝึกวินัยให้กับลูก หรืออาจจากพยาธิสภาพทางจิตใจ เช่น เครียด ภาวะซึมเศร้า
  3. กินมื้อดึก เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงการกินแล้วเข้านอน เป็นการสะสมพลังงาน จะทำให้อ้วน และมีผลทางลบต่อสุขภาพเนื่องจากอาจเกิดภาวะกรดไหลย้อน
  4. การงดอาหารเช้า ทั้งที่อาหารเช้านับเป็นมื้ออาหารหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับดำเนินกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะเด็กวัยเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพการงดอาหารเช้าส่งผลต่อการเรียนและสุขภาพของเด็ก วัยเรียน ทำให้การจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ลดลงและขาดสมาธิในการเรียน และส่งผลต่อน้ำหนักตัว การงดอาหารเช้ายังทำให้ อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายลดลงและทำให้มีโอกาสอ้วนได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้รู้สึกหิวมากและรับประทานอาหารในมื้อถัดไปมากขึ้น และมักเป็นอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วนและอ้วนลงพุง

อาหารกับการเกิดโรคอ้วน

อาหารไขมัน แป้ง น้ำ ตาล สูง ล้วนให้พลังงานสูง ได้แก่ อาหารจานด่วนอาหารทอด ไส้กรอก ขนมกรุบกรอบ เบเกอรี น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป พลังงานถูกเก็บสะสมในร่างกายได้ไม่จำกัด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน นอกจากนี้เบเกอรี คุกกี้ ขนมอบกรอบ ซึ่งมักมีเนยเทียมเป็นส่วนประกอบ จะมีไขมันทรานส์ที่อันตรายต่อสุขภาพ โดยมันจะเพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-C) และลดไขมันตัวดี(HDL-C) ในร่างกาย จึงไม่ควรมีจำ หน่ายในโรงเรียน

ขนมกรุบกรอบ มีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาลไขมัน และเกลือ ตลอดจนผงชูรส แต่มีสารอาหารที่จำ เป็นต่อร่างกายน้อย การบริโภคขนมกรุบกรอบบ่อยๆ ทำ ให้เด็กได้รับพลังงานสูง ทั้งหวาน มันและเค็ม ทำ ให้เด็กไทยติดรสหวาน มันและเค็ม ผลที่ตามมานอกจากอ้วนฟันผุ ไขมันในเลือดสูง การได้รับเกลือในปริมาณสูง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเกิดการสะสมเกลือ ทำ ให้ไตทำ งานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

การบริโภคผักผลไม้น้อย ผักผลไม้เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ตลอดจนสารต้านอนุมูลอิสระ และมีใยอาหารช่วยดูดซับไขมันในลำ ไส้และช่วยในการขับถ่าย แต่พบว่าเด็กไม่ชอบและบริโภคน้อย ทำ ให้ท้องผูกและโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ใหญ่และเด็กในการบริโภคน้ำ ตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน และสถาบันวิชาการกุมารเวชศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศห้ามขายเครื่องดื่มรสหวานในโรงเรียนเนื่องจากทำ ให้เด็กอ้วนและการดื่มนมลดลง มีผลทำ ให้ร่างกายได้รับแคลเซียมลดลงและฟันผุ 

ข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก

ในการบริโภคนำ้ตาล เด็ก ไม่เกิน 4 ช้อนชา/วัน ผู้ใหญ่ ไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน

พฤติกรรมการออกกำลังกายกับการเกิดโรคอ้วน

ปัจจุบันทั้งผู้ใหญ่และเด็กให้ความสำคัญของการออกกำลังกายลดน้อยลง ต้องการความสะดวกสบาย อีกทั้งมีเครื่องผ่อนแรงต่างๆ ทำ ให้ยิ่งลดการใช้พลังงานลงตามลำดับเป็นผลนำ ไปสู่โรคอ้วน การมีกิจกรรมทางกาย เกิดการเคลื่อนไหว จะมีการเผาผลาญพลังงานที่สะสมออกไป ในคนปกติมักมีความคล่องตัว แต่คนที่มีน้ำ หนักเกินหรือโรคอ้วน มักจะอุ้ยอ้าย และไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำ ให้สะสมพลังงานและอ้วนมากขึ้น เด็กที่มีกิจกรรมทางกายน้อยจะมีโอกาสเกิดโรคอ้วนเป็น 2.4 เท่าของเด็กที่มีกิจกรรมทางกายมาก จากการศึกษาพบว่าเด็กก่อนวัยเรียน ถ้าแม่มีกิจกรรมทางกาย เด็กก็จะมีกิจกรรมทางกาย มีการวิ่งเล่นคิดเป็น 2 เท่าของเด็กที่แม่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย และถ้าพ่อและแม่มีกิจกรรมทางกายเด็กก็จะมีกิจกรรมทางกายเพิ่มเป็น 5.8 เท่า ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากพ่อและแม่เป็นแบบอย่าง(role models) ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัว เป็นการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดี และแรงสนับสนุนทางสังคมหรืออิทธิพลจากครอบครัว 

จำนวนชั่วโมงของการดูทีวีมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วน นอกจากไม่ใช้พลังงานแล้ว ยังเกิดการสะสมพลังงานจากการที่เด็กมักรับประทานขนมขณะดูทีวีและเล่นเกมเด็กอ้วนมักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการดูทีวีเล่นเกม และเล่นโทรศัพท์มือถือ

ข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลกในการออกกำลังกาย

เด็ก

  • ควรออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง
  • ดูทีวีและเล่นเกมวันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง

ผู้ใหญ่

  • ควรออกกำลังกาย 150 นาที/สัปดาห์ (30 นาที/วัน, 5 วัน/สัปดาห์)
เอกสารอ้างอิง: ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทยูโอเพ่นจำกัด; 2558.